เก็งข้อสอบวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี - [พระเณร]

<h1>เก็งข้อสอบวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมชั้นตรี,แนวข้อสอบวิชาวินัยมุข</h1>



๑. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
เรียกว่า นิสสัย ฯ มี ๔ อย่าง ฯ คือ
๑) เที่ยวบิณฑบาต
๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓) อยู่โคนต้นไม้
๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
๒. นิสสัย ๔ ในอนุศาสน์ ๘ อย่าง หมายถึงอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
หมายถึง ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี
๑) เที่ยวบิณฑบาต
๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓) อยู่โคนไม้
๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
๓. อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
มี ๔ อย่าง ฯ คือ
๑) เสพเมถุน
๒) ลักของเขา
๓) ฆ่าสตัว์
๔) พดูอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ฯ
๔. ภิกษุปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาดีแล้วจะได้รับประโยชน์อย่างไร ?
ย่อมได้รับประโยชน์ คือ
ปฏิบัติศีล ทำให้เป็นผู้มีกายวาจาเรียบร้อย ,
ปฏิบัติสมาธิ ทำให้ใจสงบมั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
ปฏิบัติปัญญา ทำให้รอบรู้ในกองสังขาร ฯ
๕. อรณียกิจ ๔ คืออะไร ? ข้อที่ ๓ ว่าอย่างไร ?
คือ กิจที่ไม่ควรทำ ๔ ฯ
ข้อที่ ๓ ว่า ฆ่าสตัว์ ฯ
๖. ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างไรจึงชื่อว่ามีศีล ?
ภิกษุสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาติ จึงชื่อว่า มีศีล ฯ



๑. พระภิกษุผู้รักษาพระวินัยดีโดยถูกทางแล้วย่อมได้อานิสงส์อะไร ?
ย่อมได้อานิสงส์ คือความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ฯ
๒. อาบัติ คืออะไร ? อาการที่ภิกษุต้องอาบัติมี ๖ อย่าง จงบอกมาสัก ๓ อย่าง ฯ
อาบัติ คือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ
๑) ต้องด้วยไม่ละอาย
๒) ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ
๓) ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง
๔) ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
๕) ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
๖) ต้องด้วยลืมสติ ฯ
๓. อาบัติคืออะไร ? อาการที่ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างนั้น อย่างไหนเสียหายมากที่สุด ?
อาบัติ คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ
ต้องด้วยไม่ละอาย จัดว่าเสียหายมากที่สุด ฯ
๔. พระวินัย คืออะไร ? ภิกษุรักษาพระวินัยแล้วย่อมได้อานิสงส์อะไร ?
พระวินัย คือ พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ
ได้อานิสงส์ ๓ ประการ คือ
๑) ไม่เกิดวปฏิสาร คือ ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง
๒) ได้รับความแช่มชื่นใจเพราะรู้สึกว่า ตนประพฤติดีงามแล้ว
๓) มีความองอาจในหมู่ภิกษุผู้มีศีล
๕. อาบัติ คืออะไร ? ว่าโดยชื่อมีอะไรบ้าง ?
อาบัติ คือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ
ว่าโดยชื่อ มี ๗ อย่าง คือ
๑) ปาราชิก
๒) สังฆาทิเสส
๓) ถุลลัจจัย
๔) ปาจิตตีย์
๕) ปาฏิเทสนียะ
๖) ทุกกฎ
๗) ทุพภาสิต ฯ
๖. จงอธิบายความหมายของอาบัติต่อไปนี้
ก) สเตกิจฉา ข) สจิตตกะ

ก) สเตกิจฉา ได้แก่ อาบัติที่แก้ไขได้
ข) สจิตตกะ ได้แก่ อาบัติที่ต้อง เพราะมีเจตนา ฯ
๗. พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร? ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ?
พุทธบัญญัติ คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง
อภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ
ทั้ง ๒ รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ



๑. สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมีอะไรบ้าง ?
สิกขาบทมาในพระปาติโมกข์ มี ๒๒๗ สิกขาบท ฯ
สิกขาบทว่าด้วยปาราชิก มี ๔ คือ
๑) เสพเมถุน
๒) ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ไดให้ได้ราคา ๕ มาสก
๓) ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย
๔) ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ฯ
๒. สิกขากับสิกขาบท ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
สิกขา คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา มี ๓ ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา
สิกขาบท คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ มี ๒๒๗ สิกขาบท ได้แก่ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ และอธิกรณสมถะ ๗ ฯ
๓. อะไรเรียกว่า สิกขาบท ? มาจากไหน ?
พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ เรียกว่า สิกขาบท ฯ
มาในพระปาติโมกข์ ๑ มานอกพระปาติโมกข์ ๑ ฯ



๑. ภิกษุทำคนอื่นให้ถึงแก่ความตาย ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
ถ้าไม่จงใจไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าจงใจประสงค์จะให้เขาตายเป็นอาบัติปาราชิก ฯ
๒. ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติอะไร ?
ฆ่ามนุษย์ให้ต้าย ต้องอาบัติปาราชิก
ฆ่าอมนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัตถุลลัจจัย
ฆ่าสัตว์ดรัจฉานให้ตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๓. ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท เป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะ ? เพราะเหตุใด ?
ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท เป็นสจิตตกะ ฯ
เพราะต้องด้วยจงใจ เกิดขึ้นโดยมีเจตนาเป็นสมุฏฐาน ฯ
๔. ภิกษุโจทก์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็นอาบัติอะไรบ้าง ?
โจทกด์ว้ยอาบัติปาราชิก เป็นอาบัติสังฆาทิเสส
โจทก์ด้วยอาบัตินอกนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๕. ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ?
ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก
ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย
ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฎ ฯ
๖. สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์คือทรัพย์เช่นไร ? ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดในเพราะลักทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้นเมื่อใด ?
สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์ เงินทอง เป็นต้น
อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ต้นไม้ เรือน เป็นต้น
สำหรับสังหาริมทรัพย์ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดในเมื่อทำให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่เดิม
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุด ในเมื่อเจ้าของทอดกรรมสิทธิ์ ฯ



๑. ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติอะไร ?
๑) อนุปสัมบันเป็นหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒) อนุปสัมบันเป็นบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓) อนุปสัมบันเป็นชาย ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ
๒. ภิกษุโจทก์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกอย่างไร ภิกษุผู้โจทก์จึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ?
ภิกษุโกรธเคืองแกล้งโจทก์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ฯ
๓. คำว่า อาบัติที่ไม่มีมูล กำหนดโดยอาการอย่างไร ? ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?
กำหนดโดยอาการ ๓ คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑ ไม่ได้ยินเอง ๑ ไม่ได้เกิดรังเกียจสงสัย ๑ ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ
โจทก์ด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส
โจทก์ด้วยอาบัติอื่นนอกจากอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๔. สังฆาทิเสส มีกี่สิกขาบท ? ภิกษุต้องอาบัตินี้จะพ้นได้ด้วยวิธีอย่างไร ?
มี ๑๓ สิกขาบท ฯ
พ้นได้ด้วยวิธีอยู่กรรม ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินี ฯ
๕. ภิกษุประพฤติอย่างไร ชื่อว่าประทุษร้ายตระกูล ?
ประจบคฤหัสถ์ ฯ



๑. ผ้าไตรจีวร ที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ผ้าไตรจีวร มี ๓ อย่าง ฯ คือ
๑) สังฆาฏิ (ผ้าคลุม)
๒) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม)
๓) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ฯ
๒. ไตรจีวร อติเรกจีวร ได้แก่จีวรเช่นไร ?
ไตรจีวร ได้แก่จีวร ๓ ผืน ประกอบด้วยอุตตราสงค์ (ผ้าห้ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าคลุมหรือผ้าทาบ)
อติเรกจีวร ได้แก่ ผ้ามีขนาดกว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว ซึ่งอาจนำไปทำเป็นเครื่องนุ่งห่มได้นอกจากผ้าที่อธิษฐาน ฯ
๓. ภิกษุขอจีวรต่อสามีของน้องสาวแล้วได้มา เธอจะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
ถ้าสามีของน้องสาวเป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติแต่ปวารณาก็ดีไม่ต้องอาบัติ
ถ้ามิใช่ญาติและมิได้ปวารณาเป็นเพียงน้องเขย ต้องนิสสคัคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย (คือในเวลาจีวรถูกขโมยหรือเสียหาย) ฯ
๔. ไตรจีวรประกอบด้วยผ้าอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ต้องปฏิบัติอย่างไร ?
ประกอบด้วย ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตตราสงค์ และผ้าอันตรวาสก ฯ
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรต้องสละไตรจีวรผืนที่อยู่ปราศจากนั้นแล้วแสดงอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้รับผ้ากลับคืนมาแล้ว ต้องฐานใหม่ ฯ
๕. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ๑) อติเรกจีวร ๒) จีวรกาล ๓) อนุปสัมบัน ?
๑) อติเรกจีวร หมายถึง จีวรที่ไม่ใช่จีวรอธิษฐาน
๒) จีวรกาล หมายถึง คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (คืออยู่จำพรรษาแล้ว ถ้าไม่ได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๑ เดือน ถ้าได้กรานกฐินเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนในฤดูหนาว)
๓) อนุปสัมบัน หมายถึง บุคคลที่มิใช่ภิกษุ ฯ
๖. ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราศจากแม้คืนหนึ่ง ต้องอาบัติอะไร ?
มีสังฆาฏิคือผ้าคลุม อุตตราสงค์คือผ้าห่ม และอันตรวาสกคือผ้านุ่ง ฯ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯ
๗. ผ้าไตรครอง มีอะไรบ้าง ? ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร ?
ผ้าไตรครอง มี สังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ฯ
ต่างกันอย่างนี้ ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐานมีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน อติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ
๘. คำว่า ปวารณากำหนดปัจจัย หมายความว่าอย่างไร ?
หมายความว่า ปวารณาที่กำหนดชนิดสิ่งของ เช่น จีวร หรือบิณฑบาตเป็นต้น หรือ กำหนดจำนวนสิ่งของ เช่น ผ้ากี่ผืน บิณฑบาตมีราคาเท่าไรเป็นต้น ฯ



๑. ภิกษุรู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน เพื่อบุคคลอื่น เพื่อเจดีย์เพื่อสงฆ์หมู่อื่นจะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ?
น้อมมาเพื่อตน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
น้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์
น้อมมาเพื่อเจดีย์และเพื่อสงฆ์หมู่อื่น เป็นอาบัติทุกกฎ ฯ
๒. อติเรกจีวร อติเรกบาตร ได้แก่จีวรและบาตรเช่นไร ? จีวรและบาตรชนิดนี้ภิกษุเก็บไว้ได้กี่วัน ?
ได้แก่ จีวรและบาตร นอกจากจีวรและบาตรที่อธิษฐาน ฯ
เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ฯ
๓. เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้กี่วันเป็นอย่างยิ่ง ?
ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
เก็บไว้ได้ ๗ วัน ฯ
๔. ภิกษุรู้อยู่น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนต้องอาบัติอะไร ? ลาภนั้น ได้แก่อะไรบ้าง ?
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯ
ลาภ ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัช ซึ่งเรียกว่า ปัจจัย ๔ และของที่เป็นกัปปิยะอย่างอื่นอีก ฯ



๑. พูดอย่างไร ชื่อว่าส่อเสียดภิกษุ ? ภิกษุพูดอย่างนั้นต้องอาบัติอะไร ?
เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยประสงค์จะให้เขารักตน หรือให้เขาแตกกัน ชื่อว่า ส่อเสียดภิกษุ ฯ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๒. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังเดียวกันกับสามเณรจะเป็นอาบัติอะไรหรือไม่ ?
นอนได้ ๓ คืน ไม่เป็นอาบัติ เกินกว่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๓. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบัน เป็นอาบัติหรือไม่อย่างไร ?
ถ้าเป็นผู้ชายเกินกว่า ๓ คืน เป็นอาบัติปาจิตตีย์
ถ้าเป็นผู้หญิงแม้คืนแรกเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๔. ภิกษุขอปัจจัย ๔ ต่อผู้ที่ปวารณาไว้มีพระพุทธานุญาตให้ปฏิบัติอย่างไร ?
ให้ปฏิบัติดังนี้ ถ้าเขาปวารณาโดยมีกำหนดเวลาพึงขอได้เพียงกำหนดเวลานั้น แต่ถ้าเขาปวารณาโดยมิได้กำหนดเวลา พึงขอได้เพียง ๔ เดือนเท่านั้น เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีกหรือปวารณาเป็นนิตย์ ฯ
๕. ภิกษุซ่อนผ้าอาบน้ำฝน บาตรจีวรกล่องเข็ม ด้าย ของเพื่อนภิกษุหรือสามเณรเพื่อล้อเล่น เป็นอาบัติอะไรบ้าง ?
ซ่อนผ้าอาบน้ำฝน ด้าย ของเพื่อภิกษุเป็นอาบัติทุกกฎ
ซ่อนบาตรจีวรกล่องเข็มของเพื่อนภิกษุเป็นอาบัติปาจิตตีย์
ซ่อนของสามเณรทุกอย่างเป็นทุกกฎ ฯ
๖. ภิกษุเข้าบ้านโดยไม่ได้บอกลาภิกษุอื่นผู้มีอยู่ในอาวาส ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? จงอธิบาย
ถ้าเข้าบ้านในเวลาเป็นกาล ตั้งแต่เช้าถึงเวลาก่อนเที่ยงวันไม่ต้องอาบัติ
ถ้าเข้าบ้านในเวลาวิกาล คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันไป ต้องอาบัตอปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจด่วน เช่น ภิกษุถูกงูกัดต้องรีบไปหมอ ภิกษุอาพาธหนัก เป็นต้น ฯ



๑. วัตรที่ภิกษุสามเณรจะต้องศึกษาเรียกว่าอะไร ? มีทั้งหมดกี่ข้อ ?
เรียกว่า เสขิยวัตร ฯ
มีทั้งหมด ๗๕ ข้อ ฯ
๒. เสขิยวัตร คืออะไร ? ภิกษุไม่ปฏิบัติตาม ต้องอาบัติอะไร ?
คือ ธรรมเนียมที่ภิกษุต้องศึกษา ฯ
ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ
๓. เสขิยวัตร คืออะไร ? แบ่งเป็นกี่หมวด ? หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
เสขิยวัตร คือ วัตรหรือข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษา ฯ
เสขิยวัตรแบ่งเป็น ๔ หมวด คือ
๑) สารูป ว่าดว้ยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน
๒) โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร
๓) ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
๔) ปกิณณกะ ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะและบ้วนน้ำลาย ฯ
หมวดที่ ๒ ว่าเรื่อง โภชนปฏิสังยุต คือกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร ฯ
๔. ข้อว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
มีอธิบายว่า รับโดยแสดงความเอื้อเฟื้อ ในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดงความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่น หรือเอามาทิ้งเสีย ฯ
๕. ภิกษุฉันพลางทำกิจอื่นพลางจะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ



๑. อธิกรณ์ อธิกรณสมถะ คืออะไร ?
อธิกรณ์ คือเรื่องเกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ มี ๔ ประการ คือ
๑) วิวาทาธิกรณ์ ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย
๒) อนุวาทาธิกรณ์ ความโจทก์กันด้วยอาบัตินั้น ๆ เช่น เป็นอาบัติทุกกฎ
๓) อาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้งปวง เช่น อาบัติทำให้พ้นโทษ
๔) กิจจาธิกรณ์ กิจที่สงฆจ์ะพึงทำ เช่น การให้อุปสมบท ฯ
อธิกรสมถะ คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ
๒. อธิกรณ์ คืออะไร ? การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก เรียกว่าอะไร ?
อธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ
การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก เรียกว่า เยภุยยสิกา ฯ
๓. อธิกรณ์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ?
ต้องระงับด้วยอธิกรณ์สมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ๆ ฯ
๔. วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ต่างกันอย่างไร ?
ววิาทาธิกรณ์ คือความเถียงกันว่า สิ่งนั้นป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย
ส่วนอนุวาทาธิกรณ์ คือการโจทก์กันด้วยอาบัติ ฯ
๕. อธิกรณสมถะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? การตัดสินตามเสียงข้างมาก เรียกว่าอะไร ?
อธิกรณสมถะ คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ
มี ๗ อย่าง คือ
๑) สัมมุขาวินัย คือ ความระงบัอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรม
๒) สติวินัย คือ ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่เพื่อที่จะไม่ให้ใครโจทก์ด้วยอาบัติ
๓) อมูฬหวินัย คือ ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อที่จะไม่ให้ใครโจทก์ด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า
๔) ปฏิญญาตกรณะ คือ ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ (การแสดงอาบัติ)
๕) เยภุยยสิกา คือ ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ
๖) ตัสสปาปิยสิกา คือ ความลงโทษแก่ผู้ผิด
๗) ติณวัดถารกวินัย คือ ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่านไม่ต้องชำระความเดิม (ดังกลบไว้ด้วยหญ้า) ฯ
การตัดสินตามเสียงข้างมาก เรียกว่า เยภุยยสิกา ฯ
๖. การเถียงกันด้วยเรื่องอะไรจึงจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ ?
การเถียงกันว่า สิ่งนั้นป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ฯ