เก็งข้อสอบวิชากรรมบถ (วินัย) ธ.ศ.ชั้นเอก (ชุดที่ ๑)
๑. | สัตว์โลกมีทั้งสุขและทุกข์ด้วยอำนาจอะไร ก. บุญ ข. บาป ค. กรรม ง. เวร |
๒. | สิ่งใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นกรรม ก. เจตนา ข. อารมณ์ ค. สังขาร ง. มูล |
๓. | การกระทำทางใจ เรียกว่าอะไร ก. กายกรรม ข. วจีกรรม ค. มโนกรรม ง. ผลกรรม |
๔. | ทางแห่งการทำความดี เรียกว่าอะไร ก. กุศลกรรมบถ ข. อกุศลกรรมบถ ค. กุศลมูล ง. อกุศลมูล |
๕. | อกุศลกรรมบถข้อใด เกิดทางกายทวารอย่างเดียว ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน ค. กาเมสุมิจฉาจาร ง. มุสาวาท |
๖. | สุคติ เป็นภูมิเกิดของสัตว์จำพวกใด ก. มนุษย์ ข. เดียรัจฉาน ค. เปรต ง. อสุรกาย |
๗. | สิ่งที่ใจเข้าไปยึดแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรม เรียกว่าอะไร ก. อารมณ์ ข. เวทนา ค. สัญญา ง. เจตนา |
๘. | ข้อใดเป็นมูลเหตุให้กระทำกรรมชั่ว ก. กุศลมูล ข. อกุศลมูล ค. กุศลกรรม ง. อกุศลกรรม |
๙. | ความรู้สึกในอารมณ์ว่าเป็นสุขทุกข์ เรียกว่าอะไร ก. เจตนา ข. เวทนา ค. อารมณ์ ง. สังขาร |
๑๐. | ข้อใดเป็นปาณาติบาตเกิดทางวจีทวาร ก. ฆ่าเอง ข. สั่งให้ฆ่า ค. คิดจะฆ่า ง. พยายามฆ่า |
๑๑. | ข้อใดเป็นอารมณ์แห่งปาณาติบาต ก. ดินสอ ข. หนังสือ ค. ที่ดิน ง. สุนัข |
๑๒. | กุศลกรรมบถข้อใด มุ่งสอนให้มีไมตรีจิตต่อกัน ก. ไม่ฆ่าสัตว์ ข. ไม่ลักทรัพย์ ค. ไม่พูดเท็จ ง. ไม่ส่อเสียด |
๑๓. | คำว่า ปาณะ ในปาณาติบาต โดยปรมัตถ์ได้แก่อะไร ก. จักขุนทรีย์ ข. โสตินทรีย์ ค. ฆานินทรีย์ ง. ชีวิตินทรีย์ |
๑๔. | ข้อใดเป็นผลกรรมของผู้กระทำปาณาติบาต ก. โรคมาก ข. ยากจน ค. คนนินทา ง. ถูกใส่ร้าย |
๑๕. | จิตคิดจะฆ่า เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน ค. ผรุสวาจา ง. พยาบาท |
๑๖. | ข้อใดจัดเป็นการทำความดีทางกายทวาร ก. ไม่โลภ ข. ไม่ปองร้าย ค. ไม่ลัก ง. ไม่เห็นผิด |
๑๗. | สั่งคนอื่นไปลักทรัพย์ เป็นการละเมิดอกุศลกรรมบถข้อใด ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน ค. กาเมสุมิจฉาจาร ง. มุสาวาท |
๑๘. | ผลกรรมของผู้กระทำอทินนาทาน ตรงกับข้อใด ก. พิการ ข. ขัดสน ค. มีทรัพย์ ง. คนนับถือ |
๑๙. | จิตคิดจะลัก เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน ค. ผรุสวาจา ง. พยาบาท |
๒๐. | อทินนาทานมีโทษมาก เพราะขโมยของบุคคลประเภทใด ก. มีคุณธรรม ข. มียศ ค. มีทรัพย์ ง. มีบริวาร |
๒๑. | ข้อใดไม่เป็นวัตถุแห่งอทินนาทาน ก. ของหวง ข. ของทิ้ง ค. ของฝาก ง. ของยืม |
๒๒. | กาเมสุมิจฉาจาร เกิดขึ้นทางทวารใด ก. กายทวาร ข. วจีทวาร ค. มโนทวาร ง. ถูกทุกข้อ |
๒๓. | องค์แห่งกาเมสุมิจฉาจารที่ให้สำเร็จเป็นกรรมบถ คือข้อใด ก. ลักมาได้ ข. จิตยินดี ค. คนเข้าใจ ง. เรื่องไม่จริง |
๒๔. | สทารสันโดษ หมายถึงความพึงพอใจในเรื่องใด ก. คู่คิด ข. คู่ครอง ค. คู่เที่ยว ง. คู่หู |
๒๕. | ปัญหาสังคมด้านใด เกิดจากการละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ก. ยาเสพติด ข. การพนัน ค. แตกสามัคคี ง. ทางเพศ |
๒๖. | วจีกรรมข้อใดเรียกว่า มุสาวาท ก. พูดเท็จ ข. พูดคำหยาบ ค. พูดส่อเสียด ง. พูดเพ้อเจ้อ |
๒๗. | การพูดเพื่อหักประโยชน์ผู้อื่น ตรงกับข้อใด ก. มุสาวาท ข. ปิสุณวาจา ค. ผรุสวาจา ง. คนอื่นเข้าใจ |
๒๘. | องค์แห่งมุสาวาทข้อใด ทำให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถ ก. สัตว์ตาย ข. ลักมาได้ ค. ใจยินดี ง. คนอื่นเข้าใจ |
๒๙. | คำพูดส่อเสียด ก่อให้เกิดผลอย่างอย่างไร ก. เสียประโยชน์ ข. หลงเชื่อ ค. แตกแยก ง. เจ็บใจ |
๓๐. | การพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ตรงกับข้อใด ก. พูดเท็จ ข. พูดส่อเสียด ค. พูดคำหยาบ ง. พูดเพ้อเจ้อ |
๓๑. | เจตนาพูดคำเช่นใด ชื่อว่าผรุสวาจา ก. คำเท็จ ข. คำหยาบ ค. คำส่อเสียด ง. คำเพ้อเจ้อ |
๓๒. | ผรุสวาจามีโทษมาก เพราะด่าเช่นใด ก. มีความรู้ ข. มีทรัพย์ ค. มีอำนาจ ง. มีคุณธรรม |
๓๓. | เจตนาของผู้พูดผรุสวาจา ตรงกับข้อใด ก. ให้เข้าใจผิด ข. ให้แตกแยก ค. ให้เจ็บใจ ง. ให้หลงเชื่อ |
๓๔. | สัมผัปปลาปะ คือการพูดเช่นไร ก. โกหก ข. ยุยง ค. หยาบ ง. ไร้สาระ |
๓๕. | เจตนาเป็นเหตุละโมบ ตรงกับข้อใด ก. อนภิชฌา ข. อภิชฌา ค. พยาบาท ง. มิจฉาทิฎฐิ |
๓๖. | บุคคลเช่นไร เรียกว่าลุแก่อำนาจอภิชฌา ก. โลภมาก ข. พูดมาก ค. ร้ายมาก ง. คิดมาก |
๓๗. | คิดให้ผู้อื่นประสบความพินาศ ตรงกับข้อใด ก. อภิชฌา ข. อนภิชฌา ค. พยาบาท ง. มิจฉาทิฎฐิ |
๓๘. | ข้อใดเพียงแค่คิดก็สำเร็จเป็นกรรมบถได้ ก. อทินนาทาน ข. มุสาวาท ค. ผรุสวาจา ง. พยาบาท |
๓๙. | อกุศลกรรมบถข้อใดจัดเป็นมโนกรรม ก. ลักทรัพย์ ข. พูดเท็จ ค. พูดเพ้อเจ้อ ง. ปองร้าย |
๔๐. | อกุศลกรรมบถข้อใด มีโทษมากที่สุด ก. อภิชฌา ข. พยาบาท ค. มิจฉาทิฎฐิ ง. มุสาวาท |
๔๑. | อกุศลกรรมบถทางกาย ตรงกับข้อใด ก. เห็นผิด ข. ทำผิด ค. พูดผิด ง. คิดผิด |
๔๒. | มิจฉาทิฎฐิโดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. มานะ |
๔๓. | กรรมบถใดจัดเป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล ก. ไม่โกหก ข. ไม่ละโมบ ค. ไม่ปองร้าย ง. ไม่เห็นผิด |
๔๔. | ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จะได้รับผลเช่นไร ก. สุขภาพดี ข. มีทรัพย์ ค. คนเชื่อถือ ง. มีปัญญา |
๔๕. | ข้อใดเป็นการทำความดีทางกาย ก. ไม่ขโมย ข. ไม่ละโมบ ค. ไม่พยาบาท ง. ไม่เห็นผิด |
๔๖. | กุศลกรรมบถข้อใด สร้างความไว้วางใจในคู่ครอง ก. ไม่โลภ ข. ไม่ผิดในกาม ค. ไม่ปองร้าย ง. ไม่เห็นผิด |
๔๗. | การพูดเพื่อสมานฉันท์ ต้องปฏิบัติตามกุศลกรรมบถข้อใด ก. เว้นพูดเท็จ ข. เว้นพูดส่อเสียด ค. เว้นพูดคำหยาบ ง. เว้นพูดเพ้อเจ้อ |
๔๘. | การพูดอย่างมีเหตุผล ควรงดเว้นคำพูดเช่นไร ก. มุสาวาท ข. ผรุสวาจา ค. ปิสุณวาจา ง. สัมผัปปลาปะ |
๔๙. | ไม่คิดอยากได้ของเขา จัดเป็นมโนกรรมข้อใด ก. อภิชฌา ข. อนภิชฌา ค. อพยาบาท ง. สัมมาทิฎฐิ |
๕๐. | การเห็นว่าทานที่ให้แล้วมีผล จัดเป็นความเห็นใด ก. อกิริยทิฎฐิ ข. อเหตุกทิฎฐิ ค. มิจฉาทิฎฐิ ง. สัมมาทิฎฐิ |