เก็งข้อสอบวิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธ.ศ.ชั้นโท (ชุดที่ ๑)

<h1>เก็งข้อสอบวิชาวินัย (อุโบสถศีล) ธ.ศ.ชั้นโท ชุดที่ ๑</h1>


แนวข้อสอบวิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท ติวเข้มก่อนสอบธรรมสนามหลวง
{getButton} $text={วิชาอุโบสถศีล} $color={#009933}
๑. อุโบสถ แปลว่าอะไร
ก. การจำพรรษา
ข. การเข้าจำ
ค. การจำศีล
ง. การจำวัตร
๒. อุโบสถศีล หมายถึงศีลอะไร
ก. ศีล ๕
ข. ศีล ๘
ค. ศีล ๑๐
ง. ศีล ๒๒๗
๓. ผู้รักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร
ก. ดูหนัง
ข. ฟังเพลง
ค. ฟังเทศน์
ง. เล่นดนตรี
๔. ข้อใดไม่ตรงกับวันในปฏิชาครอุโบสถ
ก. วันรับ
ข. วันส่ง
ค. วันรักษา
ง. วันลา
๕. ขั้นตอนใดทำต่อจากการประกาศอุโบสถ
ก. บูชาพระรัตนตรัย
ข. อาราธนาศีล
ค. รับสรณคมน์
ง. สมาทานศีล
๖. ศีลทำให้เกิดความเรียบร้อยทางวาจา ตรงกับข้อใด
ก. คิดดี
ข. พูดดี
ค. ทำดี
ง. ใจดี
๗. อชฺชโภนฺโต ปกฺขสฺส เป็นคำอะไร
ก. บูชาพระ
ข. อาราธนา
ค. ประกาศ
ง. สมาทาน
๘. ที่พึ่งสูงสุดของชาวพุทธ คือข้อใด
ก. พระคัมภีร์
ข. พระสงฆ์
ค. พระไตรปิฎก
ง. พระรัตนตรัย
๙. ข้อใดเป็นสาเหตุแห่งการขาดสรณะคมน์
ก. ทำลายเจดีย์
ข. ตัดเศียรพระ
ค. เผาตำรา
ง. ตาย
๑๐. ยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน เป็นความเศร้าหมองในด้านใด
ก. ความไม่รู้
ข. ความรู้ผิด
ค. ความสงสัย
ง. ความไม่เอื้อเฟื้อ
๑๑. ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส กล่าวสรรเสริญคุณของใคร
ก. พระพุทธ
ข. พระธรรม
ค. พระสงฆ์
ง. พระไตรปิฎำ
๑๒. โลกวิทู กล่าวสรรเสริญคุณของใคร
ก. พระพุทธเจ้า
ข. พระธรรม
ค. พระสงฆ์
ง. พระอรหันต์ำ
๑๓. สรณะ มีความหมายว่ากำจัดสิ่งใด
ก. ภัย
ข. โรค
ค. ศัตรู
ง. คู่แข่ง
๑๔. สรณคมน์ หมายถึงการยอมรับสิ่งใดเป็นที่พึ่ง
ก. ไตรรัตน์
ข. ไตรสิกขา
ค. ไตรปิฎก
ง. ไตรลักษณ์
๑๕. ความเชื่อเช่นไร เป็นเหตุให้สรณคมน์เศร้าหมอง
ก. กรรม
ข. บาป
ค. บุญ
ง. โชคลาง
๑๖. ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ พึงงดเว้นเรื่องใด
ก. เล่าชาดก
ข. ฟังเทศน์
ค. ฟังเพลง
ง. สวดมนต์
๑๗. สถานที่ใดไม่เหมาะสมเพื่อเข้าจำอุโบสถ
ก. วัด
ข. ถ้ำ
ค. ป่าช้า
ง. บ่อน
๑๘. อุโบสถใดกำหนดให้รักษาตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
ก. ปฏิชาครอุโบสถ
ข. ปกติอุโบสถ
ค. ปฏิหาริยอุโบสถ
ง. อริยอุโบสถ
๑๙. การรักษาศีลอุโบสถ ถือเรื่องใดเป็นสำคัญ
ก. อาหาร
ข. เสื้อผ้า
ค. ค่ารถ
ง. จิตใจ
๒๐. วันอัฎฐมีในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ
ก. ๗ ค่ำ
ข. ๘ ค่ำ
ค. ๑๔ ค่ำ
ง. ๑๕ ค่ำ
๒๑. องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อปาณาติบาตขาด คือข้อใด
ก. สัตว์มีชีวิต
ข. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
ค. จิตคิดจะฆ่า
ง. สัตว์ตาย
๒๒. ปาณะในอุโบสถศีลข้อที่ ๑ หมายถึงอะไร
ก. สัตว์มีชีวิต
ข. สิ่งของ
ค. เครื่องประดับ
ง. เตียงตั่ง
๒๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ห้ามทำเรื่องใด
ก. ฆ่าสัตว์
ข. ลักทรัพย์
ค. พูดเท็จ
ง. ร้องเพลง
๒๔. อุโบสถศีลข้อใดสอนให้เห็นความสำคัญในทรัพย์สิน
ก. ข้อที่ ๒
ข. ข้อที่ ๓
ค. ข้อที่ ๗
ง. ข้อที่ ๘
๒๕. ข้อใดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้ออทินนาทาน
ก. พยายามฆ่า
ข. พยายามลัก
ค. พยายามกลืน
ง. พยายามดื่ม
๒๖. อุโบสถศีลข้อใดขาดเพราะใช้ให้ผู้อื่นทำ
ก. ข้อที่ ๒
ข. ข้อที่ ๓
ค. ข้อที่ ๔
ง. ข้อที่ ๕
๒๗. ข้อใดไม่ใช่องค์ของอุโบสถศีลข้ออทินนาทาน
ก. ของมีเจ้าของ
ข. จิตคิดจะลัก
ค. พยายามลัก
ง. จิตคิดจะเสพ
๒๘. อุโบสถศีลข้อใดห้ามล่วงละเมิดทรัพย์สินของคนอื่น
ก. ข้อที่ ๒
ข. ข้อที่ ๔
ค. ข้อที่ ๖
ง. ข้อที่ ๘
๒๙. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ห้ามเรื่องใด
ก. เสพกาม
ข. พูดโกหก
ค. ดื่มสุรา
ง. ฟ้อนรำ
๓๐. ข้อใดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๓
ก. จิตคิดจะฆ่า
ข. จิตคิดจะลัก
ค. จิตคิดจะเสพ
ง. จิตคิดจะดื่ม
๓๑. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ ขาดลงเพราะประพฤติผิดทางใด
ก. กาย
ข. วาจา
ค. ใจ
ง. วาจา ใจ
๓๒. การไม่ประพฤติล่วงอสัทธรรม ตรงกับอุโบสถศีลข้อใด
ก. ข้อที่ ๓
ข. ข้อที่ ๔
ค. ข้อที่ ๕
ง. ข้อที่ ๖
๓๓. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๔ ไม่พึงสนทนากันเรื่องใด
ก. ศีลธรรม
ข. บุญบาป
ค. ผลกรรม
ง. ดวงชะตา
๓๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ระมัดระวังเรื่องใด
ก. การพูด
ข. การกิน
ค. การแต่งตัว
ง. การนอน
๓๕. อุโบสถศีลข้อใดขาดเพราะประพฤติผิดทางวาจา
ก. ข้อที่ ๔
ข. ข้อที่ ๕
ค. ข้อที่ ๖
ง. ข้อที่ ๗
๓๖. ข้อใเป็นองค์แห่งมุสาวาท
ก. สัตว์มีชีวิต
ข. เรื่องไม่จริง
ค. พยายามดื่ม
ง. ดูหรือฟัง
๓๗. เหตุแห่งความประมาทในอุโบสถศีลข้อที่ ๕ คือข้อใด
ก. ฆ่าสัตว์
ข. ลักทรัพย์
ค. พูดปด
ง. ดื่มน้ำเมา
๓๘. องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ขาด คือข้อใด
ก. น้ำเมา
ข. จิตคิดจะดื่ม
ค. พยายามดื่ม
ง. ดื่มล่วงลำคอ
๓๙. ที่นอนประเภทใดอนุญาตสำหรับผู้รักษาศีลอุโบสถ
ก. ที่นอนยัดสำลี
ข. ที่นอนยัดนุ่น
ค. ที่นอนยัดใบไม้
ง. ที่นอนยัดขนแกะ
๔๐. หลังเที่ยงวันในอุโบสถศีลข้อที่ ๖ เรียกว่าอะไร
ก. กาล
ข. วิกาล
ค. ยุค
ง. สมัย
๔๑. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ ควรรับประทานอาหารในเวลาใด
ก. เช้าถึงเที่ยง
ข. หลังเที่ยง
ค. บ่ายถึงเย็น
ง. กลางคืน
๔๒. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ บัญญัติไว้เพื่อตัดความกังวลเรื่องใด
ก. พูด
ข. กิน
ค. นั่ง
ง. นอน
๔๓. ข้อใดเป็นองค์แห่งอุโบสถศีข้อที่ ๖
ก. สัตว์ตาย
ข. เรื่องไม่จริง
ค. กลืนกิน
ง. ดูการละเล่น
๔๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ บัญญัติไว้เพื่อตัดความกังวลเรื่องใด
ก. สนทนา
ข. อาหาร
ค. แต่งตัว
ง. ที่นอน
๔๕. ข้อใดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๗
ก. ของมึนเมา
ข. กลืนกิน
ค. ดูหรือฟัง
ง. ที่นอนสูง
๔๖. ข้อใดเป็นข้าศึกต่อการรักษาศีลข้อที่ ๗
ก. สวดมนต์
ข. ให้พร
ค. สอนธรรม
ง. ฟ้อนรำ
๔๗. คำว่า คีตะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงอะไร
ก. ฟ้อนรำ
ข. ขับร้อง
ค. ประโคม
ง. ประดับ
๔๘. การทัดทรงดอกไม้ เป็นข้อห้ามในอุโบสถศีลข้อใด
ก. ข้อที่ ๕
ข. ข้อที่ ๖
ค. ข้อที่ ๗
ง. ข้อที่ ๘
๔๙. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ เกี่ยวข้องกับกิริยาบถใด
ก. ยืน
ข. เดิน
ค. นั่ง
ง. วิ่ง
๕๐. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ขาดเพราะทำเรื่องใด
ก. ยืนบนโต๊ะ
ข. เดินบนเตียง
ค. นั่งบนตั่งสูง
ง. นอนบนผ้าขาว