วิธีเขียนกระทู้ธรรมให้ได้ ๑๐๐ คะแนน

<h1>วิธีเขียนกระทู้ธรรมให้ได้ ๑๐๐ คะแนน</h1>


สวัสดีครับนักเรียนทุกคน แอดมินได้นำแนวตรวจกระทู้ธรรมของทางสนามหลวง มาเขียนอธิบายขยายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ก็จะได้รู้แนวทางในเขียนและก็ทำข้อสอบวิชากระทู้ธรรม จะได้ไม่ให้โดนหักคะแนนกันนะครับ มีทั้งหมด ๗ ข้อดังต่อไปนี้คือ


{getButton} $text={วิธีเขียนกระทู้ธรรมให้ได้ ๑๐๐ คะแนน} $color={#009933}

๑. นักเรียน เขียนแต่งได้ตามกำหนด
- ธรรมศึกษาชั้นตรี (ระดับประถม /มัธยม / อุดมและประชาชนทั่วไป)
ต้องเขียนให้ได้ตั้งแต่ หน้ากระดาษคำตอบขึ้นไป และเว้นบรรทัดด้วย

- ธรรมศึกษาชั้นโท (ระดับประถม /มัธยม / อุดมและประชาชนทั่วไป)
ต้องเขียนให้ได้ตั้งแต่ หน้ากระดาษขึ้นไป และเว้นบรรทัดด้วย

- ธรรมศึกษาชั้นเอก (ระดับประถม /มัธยม / อุดมและประชาชนทั่วไป)
ต้องเขียนกระทู้ให้ได้ตั้งแต่ หน้ากระดาษขึ้นไป และเว้นบรรทัดด้วย

๒. นักเรียน อ้างกระทู้เชื่อมได้ตามกฎ
- ธรรมศึกษาชั้นตรี จะต้องอ้างสุภาษิตเชื่อมมา สุภาษิต และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย
- ธรรมศึกษาชั้นโท จะต้องอ้างสุภาษิตเชื่อมมา สุภาษิต และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย
- ธรรมศึกษาชั้นเอก จะต้องอ้างสุภาษิตเชื่อม สุภาษิต และบอกคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย

๓. นักเรียน เชื่อมความกระทู้ได้ดี
การที่นักเรียนจะเชื่อมกระทู้ให้ได้ดีนั้น ต้องเชื่อมเนื้อความให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง
กล่าวคือ สุภาษิตบทตั้งพูดถึงเรื่องกรรม เราก็อาจจะยกสุภาษิตเรื่องศีลมาเชื่อม แล้วเขียนอธิบายเรื่องกรรมกับเรื่องศีลให้เกี่ยวข้องกัน ว่าศีลนั้นมีประโยชน์ให้คนทำกรรมอย่างไร หรือเพราะเหตุใดคนต้องอาศัยศีลในการสร้างกรรมดี ละกรรมชั่วอย่างไร เป็นต้น

๔. นักเรียน อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้
คือ สุภาษิตกล่าวถึงเรื่องอะไรก็ต้องเขียนอธิบายเรื่องนั้น ไม่ใช่เขียนไปเรื่องอื่นที่ไม่สอดคล้องกับสุภาษิตที่ตั้งไว้ ดังนั้นก่อนลงมือเขียนอธิบายทุกครั้ง นักเรียนต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสุภาษิตนั้นกล่าวถึงเรื่องอะไรและประเด็นหลักที่ต้องอธิบายอะไรบ้าง

๕. นักเรียน เขียนใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
เพราะการใช้ภาษาที่มีสำนวนสุภาพเรียบร้อย เหมาะสม สามารถชักจูงจิตใจผู้อ่านให้ปฏิบัติตามได้ ตัวอย่างเช่น
-เขียนใช้คำว่า “รับประทาน” แทนคำว่า “กิน”
-เขียนใช้คำว่า “บิดามารดา” แทนคำว่า “พ่อแม่”
-เขียนใช้คำว่า “ข้าพเจ้า,กระผม” แทนคำว่า ”กู ,มึง,มัน”

ตัวอย่างคำที่ไม่ควรเขียน เช่น
-คำตลาดหรือภาษาพูด เช่น กินน้ำ ส้นตีน ผัวเมีย เป็นต้น
-คำแสลง เช่น ซ่า อื้อซ่า นิ้งไปเลย เก๋ากึ๊ก ส.บ.ม. อย่าเยอะ เป็นต้น
-คำพื้นเมืองหรือคำภาษาถิ่นเช่น บ่อ ฮ่วย เว้า ห่า คิง หรอ เป็นต้น
-คำภาษาต่างประเทศ เช่น ฟรี สลัม เคอร์ฟิว คอร์รัปชั่น ฟุตโน้ต เล็คเซอร์ เป็นต้น
-คำเทคนิค เช่น กระสวน อนุภาค อาทิกัมมิกะ ปัสสัทธิ เป็นต้น
-คำภาษาหนังสือพิมพ์ เช่น ขายตัว เปิดอก เปิดศึกขยี้ ปลาทูเค็ม เป็นต้น
-คำเกินความเข้าใจของคนอื่น เช่น ลิขิตพจน์ รูปนัย อรูปนัย ฯลฯ

๖. ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามหลักภาษา
การเขียนอธิบายต้องให้ตัวสะกดการันต์ถูกต้องมากที่สุด และพยายามเขียนให้ผิดน้อยที่สุด ตัวอย่างคำที่มักเขียนผิดกันบ่อยๆ เช่น สร้างสรรค์ สรรเสริญ บังสุกุล บิณฑบาตร ตักบาตร พรรณนา ศัพท์ แพศย์ ศูทร ฯลฯ เป็นต้น

๗. สะอาดไม่เปรอะเปื้อน
เพราะว่าการขีดฆ่าหรือขูดลบบ่อยๆ หรือมีรอยลบลิขิตเปเปอร์มากเกินไป เรียงความนั้นก็จะหมดความสวยงามไม่น่าอ่าน และการเขียนควรใช้หมึกน้ำเงิน สีดำ หรือดินสอเท่านั้น (ห้ามใช้สีแดงเด็ดขาด)