สุภาษิตที่ ๓ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

<h1>ผู้มีขันติ นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ...</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(สํ.ม. ๒๒๒) = หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ขันติ คืออะไร
- ทำไมผู้มีขันติจึงนับว่ามีเมตตา
- ทำไมผู้มีขันติจึงมีลาภมียศ
- ทำไม่คนผู้มีขันติจึงมีความสุข
- ทำไมผู้มีขันติจึงเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ธรรมอันทำให้งาม ๒
- กุศลมูลและอกุศลมูล ๓
- ปธาน ๔
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ขันติ คืออะไร
ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่แสดงอาการทุกข์ร้อน ความโกรธ ความไม่พอใจหรือฉุนเฉียวออกมาให้เห็น จัดตามเหตุที่ควรอดทนเป็น ๔ ประเภทคือ

๑. อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำ
คือ ความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากในการทำงานอันเป็นสัมมาอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรีบยน ไม่แสดงอาการท้อแท้เหนื่อยหน่าย เช่น ทนร้อน ทนหนาว ทรหิวกระหายเป็น

๒. อดทนต่อทุกขเวทนา
คือ อดทนต่อความเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทางกาย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ

๓. อดททนต่อความเจ็บใจ
คือ อดทนต่อการทำล่วงเกินของคนอื่น เช่น อดทนต่อคำด่า คำเสียดสี หรือทนต่ออารมณ์ที่ทำให้เกิดความเจ็บใจต่างๆ

๔. อดทนต่ออำนาจของกิเลส
คือ อดทนต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามายั่วยวนให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันจะนำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรม

ที่ว่าเป็นคนมีเมตตา
เพราะว่าเมื่อมีขันติความอดทนย่อมรู้จักข่มใจไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น อันจะเป็นเหตุให้คิดประทุษร้ายคนอื่น

ที่ว่าเป็นคนมีลาภมียศ
เพราะผู้ที่มีความอดทนย่อมแสวงหาทรัพย์ได้ไม่ยาก เนื่องจากไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ต่างๆ ในการทำงาน จึงทำให้ประสบความสำเร็จในตำแหน่งหน้าที่การงาน

ที่ว่าเป็นคนมีความสุข
เพราะผู้ที่มีความอดทน มีความเพียรพยายามของตนจนสำเร็จแล้ว ย่อมได้รับความสุข เพราะเป็นสิ่งที่ตนได้มาด้วยความสุจริตยุติธรรม

ที่ว่าเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เพราะคนที่รู้จักข่มใจจากอำนาจของอกุศลธรรมได้ ย่อมไม่คิดประทุษร้ายต่อใคร จะอยู่ที่ไหนก็ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และยังทำให้สถานที่นั้นมีแต่ความสุขสงบร่มเย็นอีกด้วย



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิต ธรรมศึกษาชั้นโท ๓</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ระดับประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}