สุภาษิตที่ ๗ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

<h1>ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้...</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ขุ. ๒๕/๑๐) = ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ทานที่อุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้วจะสำเร็จได้อย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ทาน ๒ เภท
- บุญกิริยาวัตถุ ๓
- อานิสงส์การให้ทาน ๕
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยงข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ทาน คืออะไร
ทาน คือ การให้ การสงเคราะห์ช่วยเหลือแบ่งปันแก่กันและกัน เป็นเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีน้ำใจมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนที่ให้อะไรก่คนอื่นได้นั้น นับว่าเป็นคนที่น่ายกย่องนับถือ เพราะทำสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องมีใจเสียสละจริงๆ จึงจะทำได้

ทาน ๒ ประเภท คือ
๑. อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของ เรียกว่า ทานวัตถุ เช่น อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม สบู ยาสีฟัน ที่นอน ที่อยู่อาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น และ
๒. ธรรมทาน การให้ความรู้ ให้ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต เพื่อชักนำบุคคลให้เว้นจากความชั่ว ให้ทำแต่ความดี ประพฤติตนสุจริตยุติธรรม เป็นต้น

อานิสงส์ของการให้ทาน ๕ ประการ
๑) เป็นที่รักของคนหมู่มาก
๒) บุคคลย่อมคบหา
๓) เป็นคนที่มีชื่อเสียง
๔) เข้าสู่สมาคมใดย่อมองอาจไม่เก้อเขิน
๕) หลังจากตายไปย่อมเกิดในสุคติภูมิ

ทานที่อุทิศให้จะสำเร็จได้
คือตามความเชื่อในเรื่องของการทำบุญ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้
๑.ญาติมิตรที่มีชีวิตอยู่ทำบุญแล้วอุทิศไปให้
๒.ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นไปเกิดเป็นปรทัตตูปชีวิเปรต (เปรตที่เป็นอยู่ได้ด้วยอาหารที่ผู้อื่นอุทิศไปให้)
๓.เปรตนั้นต้องอนุโมทนาในส่วนบุญนั้นด้วย เมื่อครบองค์ประกอบตามที่กล่าวมานี้ ทานที่อุทิศไปให้แต่โลกนี้ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตายไปแล้ว



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h2>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นโท ๗</h2>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}