กมฺมุนา วตฺตตี โลโก "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" | กระทู้ธรรมชั้นตรี ระดับมัธยม | สุภาษิตที่ ๑๒

กระทู้ธรรมตรี,กระทู้ธรรมชั้นตรี,เรียงความกระทู้ธรรมชั้นตรี,กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

อ่านบาลีว่า:
กำ-มุ-นา, วัด-ตะ-ตี, โล-โก


ตัวอย่างแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี





อ่านแนวนำมาเขียนอธิบาย


กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

กรรม คืออะไร
กรรม คือ การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นคำกลางๆ ไม่เจาะจงว่า ดี หรือ ชั่ว แบ่งเป็น ๓ คือ
- ทำดีทางกาย ทางวาจา ทางใจ เรียกว่า กุศลกรรม
- ทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ เรียกว่า อกุศลกรรม
- การกระทำที่ไม่ดี ไม่ชั่ว เป็นกลางๆ เรียกว่า อัพยากตกรรม

กุศลกรรม แบ่งออกเป็น ๓ คือ
๑. ทำดีทางกาย เรียกว่า กายสุจริต เช่น เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๒. ทำดีทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต เช่น พูดคำจริง พูดไพเราะ พูดคำประสานสามัคคี พูดคำมีประโยชน์
๓. ทำดีทางใจ เรียกว่า มโนสุจริต คือ การคิดดี เช่น ไม่คิดอยากได้ของเขา ไม่คิดพยาบาทเบียดเบียนเขา ไม่เห็นผิดจากทำนองคลองธรร

อกุศลกรรม แบ่งออกเป็น ๓ คือ
๑. ทำชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
๒. ทำชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
๓. ทำชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต คือ การคิดไม่ดี เช่น คิดอยากได้ของเขา คิดพยาบาทเบียดเบียนเขา เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

ซึ่งกรรมนี้เป็นตัวบงการชีวิตสรรพสัตว์ ให้มีสุขบ้างมี ทุกข์บ้างแตกต่างกันไปตามอำนาจแห่งกรรมที่บุคคลได้ทำไว้ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพราะกรรมพามา รวมถึงสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายที่ไปเกิดในสภาพนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว เป็นต้น ที่ไปเกิดในสภาพเช่นนั้นก็เพราะกรรมพาไปเช่นกัน แม้แต่มนุษย์เราเกิดมามีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน มีฐานะความเป็นอยู่ต่างกัน เพราะกรรมจัดสรรให้เป็นไป ท่านจึงกล่าวว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

สุภาษิตมาใน:
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
ตัวย่อสุภาษิต:
ม.ม. ๑๓/๖๔๘., ขุ.สุ. ๒๕/๔๕๗