สุภาษิตที่ ๑ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับมัธยมศึกษา

<h1>บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ธ. ๒๕/๔๗) = ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ประโยชน์ คืออะไร
- ทำไมต้องเห็นแก่ประโยชน์ตนก่อนของคสนอื่น


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
- สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยงข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ประโยชน์ คืออะไร
หมายถึง ผลที่ได้จากการทำกุศลกรรม คุณงามความดี แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในโลกนี้ และ ๒.สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในภายภาคหน้า

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ อย่าง
คือ ประโยชน์ในโลกนี้ เป็นความสุขในปัจจุบันทันตา เรียกว่า โลกิยสุข มี ๔ อย่าง คือ
๑.ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
๒.ถึงพร้อมด้วยการรักษา
๓.รู้จักคบเพื่อนดีเป็นมิตร
๔.รู้จักดำรงชีวิตที่พอดี

สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔ อย่าง
คือ ประโยชน์ในภายภาคหน้า ความสุขที่จะให้ผลในภพชาติหน้า เช่น มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง คือ
๑.ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒.ถึงพร้อมด้วยศีล
๓.รู้จักการบริจาคทาน
๔.ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ท่านสอนให้เห็นแก่ประโยชน์ตนก่อน
คือ ท่านสอนให้บุคคลรู้จักทำประโยชน์ทั้ง ๒ ประเภทนั้นให้เกิดมีขึ้นแก่ตนก่อน ไม่ได้สอนให้เป็นคนเห็นแก่ตัวแต่อย่างใด เพราะถ้ามัวแต่คอยชื่นชมคุณความดีความสำเร็จของคนอื่น โดยไม่ยอมลงมือทำเอง ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ตัวเอง นอกจากนั้น คนที่ทำประโยชน์ของตนให้บริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว ย่อมสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ท่านเปรียบเหมือนเวลาจะช่วยคนตกน้ำ คนที่จะช่วยต้องว่ายน้ำเป็นก่อนและต้องรู้วิธีจะช่วยด้วย ไม่เช่นนั้นจะพากันจมน้ำตายด้วยกันทั้งคู่



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท ๑ ระดับมัธยม</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท มัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท มัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}