สุภาษิตที่ ๑ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>ตนแลเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ก็บุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ธ. ๒๕/๒๖) = ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ที่พึ่ง คืออะไร
- ที่พึ่งจำแนกได้กี่ประเภท
- ทำอย่างไรจึงชื่อว่าพึ่งตนเอง
- พึ่งตนเองดีกว่าพึ่งคนอื่นอย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ไตรสิกขา ๓
- โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยงข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ที่พึ่ง คืออะไร
ที่พึ่ง หมายถึง สิ่งที่เราต้องพึ่งพาอาศัย เพื่อช่วยพยุงให้เกิดความสุข ความเจริญแก่ตน หรือเพื่อบรรเทาความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วให้เบาบางลง

ที่พึ่ง ๒ ประเภท
ที่พึ่งภายนอก เช่นบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทมิตรสหาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิเจ้าที่ เทวดา ทรัพย์สินเงินทอง เป็นต้น
ที่พึ่งภายใน คือ คุณงามความดีของตน บุญกุศลของเรา บารมีของเรา ใจความก็คือการตั้งตนหรือฝึกฝนอบรมตนให้ตั้งอยู่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

การพึ่งตนเองที่ถูกต้องนั้น
พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเอาไว้ ๓ ประการ คือ ๑.เว้นจากความชั่ว ๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม ๓.ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส ซึ่งก็ได่แก่ การตั้งตนหรือปฏิบัติตนให้อยู่ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง

ที่พึ่งที่บุคคลได้โดยยาก
หมายถึงว่า คุณงามความดีที่เราได้หมั่นฝึกฝนอบรมตนตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่พึ่งให้ประสบความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และเมื่อเราฝึกฝนอบรมตนให้ยิ่งยวดแล้วย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน ดับทุกข์ทั้งปวงได้ จึงชื่อว่า เป็นที่พึ่งที่บุคคลได้โดยยาก



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๑</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}