สุภาษิตที่ ๕ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท ค่อยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น ฉะนั้น</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ธ. ๒๕/๕๘) = ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- หล่ม คืออะไร
- คนเช่นไรชื่อว่าตกหล่ม
- คนที่ตกหล่มจะมีผลอย่างไร
- จะทำอย่างไรไม่ให้ตกหล่ม
- จะถอนตัวขึ้นจากหล่มจากไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- วัตถุกาม ๕
- อินทรีย์ ๕
- ความไม่ประมาท
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
คำว่า หล่ม คืออะไร
คือ กิเลสกาม หมายถึง กิเลสเป็นเหตุใคร่ ทำใจให้หลงติดอยู่ในอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าชอบใจ


คนเช่นไรชื่อว่าตกหล่ม
คือ คนที่หลงยึดมั่นถือมั่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นกู ของกู ต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการของตน เมื่อได้สมใจก็ทำให้ยึดมั่นยิ่งขึ้น แต่เมื่อไม่สมใจก็เป็นทุก จึงชื่อว่า ติดอยู่ในหล่ม

การป้องกันไม่ให้ตกหล่ม
คือ การรักษาจิตของตนไว้ให้ดี ด้วยการตั้งสติอยู่ทุกลมหายใจ ในขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัสโผฏฐัพพะ หรือเมื่อธรรมารมณ์เกิดกับใจ อย่าให้จิตเกิดความยินดียินร้าย หรือไม่ให้เกิดความชอบชังในอารมณ์นั้นๆ

การถอนตัวขึ้นจากหล่ม
คือ ให้ดำเนินตามมรรค์มีองค์ ๘ ประการ หรือตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกใช้ถอนตัวเองจากมาแล้ว

การตั้งความดำริไว้ให้ดี
คือ การตั้งความคิดริเริ่มในทางกุศล ที่เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ๓ ประการ คือ ๑.ดำริในการออกจากกาม ๒.ดำริในความไม่พยาบาท ๓.ดำริในการไม่เบียดเบียน

การคอยรักษาจิตของตน
คือ การสำรวจอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ให้ไปยินดียินร้ายในขณะที่ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส และกายถูกต้องสัมผัส



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๕</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}