สุภาษิตที่ ๖ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือยินดีในความไม่ประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป ฉะนั้น</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ธ. ๒๕/๑๙) = ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- สังโยชน์ คืออะไร
- ผู้ยินดีในความไม่ประมาทเผาสังโยชน์ได้อย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- สังโยชน์ ๑๐
- ศีล,สมาธิ,ปัญญา
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
สังโยชน์
คือ กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ให้ขมปรักอยู่ในวัฏทุกข์ คือการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ อย่างไม่รุ้จักจบสิ้น

สังโยชน์ ๑๐ อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัยไม่แน่ใจ
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นในศีลพรต
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
๖. รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน
๘. มานะ ความสำคัญตน คือถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง

ผู้ยินดีในความไม่ประมาทย่อมเผาสังโยชน์ได้
คือ เห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิด ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์แล้ว ย่อมฝึกฝนอบรมตนให้ตั้งอยู่ในมรรคผล ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป จนถึงอรหันตผล ด้วยการตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ ๘ เพราะเมื่อบรรลุอรหันตผลได้แล้วย่อมเผาสังโยชน์ทั้งหมดเหล่านั้นไปได้ และย่อมพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

การตั้งความดำริไว้ให้ดี
คือ การตั้งความคิดริเริ่มในทางกุศล ที่เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ๓ ประการ คือ ๑.ดำริในการออกจากกาม ๒.ดำริในความไม่พยาบาท ๓.ดำริในการไม่เบียดเบียน

การคอยรักษาจิตของตน
คือ การสำรวจอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ให้ไปยินดียินร้ายในขณะที่ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส และกายถูกต้องสัมผัส



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๖</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}