สุภาษิตที่ ๗ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใก้ลพระนิพพานที่เดียว</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ธ. ๒๕/๑๙) = ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ยินดีในความไม่ประมาทคืออย่างไร
- เห็นภัยในความไม่ประมาทคืออย่างไร
- ผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมได้แก่บุคคลเช่นไร
- เหตุใดจึงชื่อว่าเข้าใกล้พระนิพพาน


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- อินทรีย์ ๖
- สติปัฏฐาน ๔
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ความไม่ประมาท
หมายถึง ความเป็นอยู่อย่างไม่เลินเล่อเผลอสติ ไม่ลืมตัวมัวเมาจนขาดความรอบคอบหรือความยั้งคิด คนที่ไม่ประมาทจึงมีความสามารถที่จะประคองจิตใจให้ระลึดนึกได้ และรู้ตัวอยู่เสมอว่าขณะนี้ตนกำลังทำ พูด คิดอะไรอยู่

ความประมาท
หมายถึง ความเป็นอยู่อย่างปราศจากสติ คนที่ประมาทจึงมักหลงระเริงอยู่กับการกระทำที่มีแต่จะก่อทุกข์ให้ถึงตัว พระพุทธองค์ตรัสสอนให้เราไม่ประมาทในเรื่องใหญ่ๆ อยู่ ๔ เรื่อง คือ ๑.ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต ๒.ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต ๓.ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต และ ๔.ในการละความเห็นผิด แล้วทำความเห็นให้ถูกต้องตามคลองธรรม

ผู้ยินดีในความไม่ประมาท คืออย่างไร
คือ รู้จักสำรวมอินทรีย์ ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น เป็นต้น และเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิด ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์แล้ว ย่อมฝึกฝนอบรมตนให้ตั้งอยู่ในมรรคผล ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป จนถึงอรหันตผล ด้วยการตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ ๘ เพราะเมื่อบรรลุอรหันตผลได้แล้วย่อมเผาสังโยชน์ทั้งหมดเหล่านั้นไปได้ และย่อมพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

ผู้เห็นภัยในความประมาท คืออย่างไร
คือ การเห็นโทษอันเกิดจากการไม่สำรวมอินทรีย์ ๖ และการไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอดถึงไม่ตั้งตนอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญาและมรรคมีองค์ ๘

บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม คืออย่างไร
คือ ผู้ที่สำรวมอินทรีย์ ๖ ตั้งตนอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ดำเนินตามหลักมรรคมีองค์ ๘ และเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตามหลักของวิปัสสนา จนบรรลุมรรคผลในเบื้องต้นคือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เสื่อม คือผู้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้ กิเลสที่ละได้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก

เหตุที่ได้ชื่อว่าเข้าใกล้พระนิพพาน
คือเพราะเหตุที่บุคคลปฏิบัติจนสามารถบรรลุโสดาบันได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่จะได้บรรลุพระนิพพานแน่นอนในข้างหน้า จึงได้ชื่อว่า อยู่ใกล้พระนิพพาน



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๗</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}