สุภาษิตที่ ๘ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ชา.จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙) = ขุททกนิกาย ชาดก จตุกกนิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ทาน คืออะไร
- คนเช่นไรที่ควรให้ทาน
- คนเช่นไรที่ไม่ควรให้ทาน
- เมื่อประสบความเสื่อมเพราะอันตรายย่อมไม่ได้สหาย


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ทาน ๒
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ทาน
คือ การให้ การสงเคราะห์ช่วยเหลือแบ่งปันแก่กันและกัน เป็นเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีน้ำใจมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนที่ให้อะไรก่คนอื่นได้นั้น นับว่าเป็นคนที่น่ายกย่องนับถือ เพราะทำสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องมีใจเสียสละจริงๆ จึงจะทำได้

ทาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
คือ ๑.อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของ เรียกว่า ทานวัตถุ เช่น อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม สบู ยาสีฟัน ที่นอน ที่อยู่อาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น และ ๒. ธรรมทาน การให้ความรู้ ให้ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต เพื่อชักนำบุคคลให้เว้นจากความชั่ว ให้ทำแต่ความดี ประพฤติตนสุจริตยุติธรรม เป็นต้น

การให้ควรเลือกให้
หมายถึง กอนจะให้ควรเลือกของที่จะให้ว่าสมควรให้หรือไม่สมควรให้อย่างไร เพราะหากให้ของที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ดีอาจเกิดความเสียหายในภายหลังได้ และก็ต้องเลือกคนที่เราควรจะให้ด้วยว่าควรให้หรือไม่ควรให้ เพราะถ้าไม่เลือกแล้วอาจเสียใจในภายหลัง หรืออาจเป็นการส่งเสริมให้คนทำผิด

คนที่ควรให้
คือ คนที่มีพระคุณแก่ตน เช่น บิดามารดา คนที่เคยอุปการะตนมา เป็นต้น คนที่มีศีลธรรม เป็นคนดี เป็นคนที่ซื่อสัตย์สุจริต คนที่ยึดมั่นอยู่ในกตัญญูรู้จักบุญคุณคน เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่ควรให้ทั้งสิ้น เพราะให้แก่คนเหล่านี้ย่อมไม่เสียเปล่า เป็นบุญเป็นกุศลได้บุญมากด้วย

คนที่ไม่ควรให้
คือ คนที่แล้งน้ำใจ คนที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น คนที่ไม่เคยเห็นความดีของใคร คนที่ชอบรับอย่างเดียว แต่ไม่ชอบให้อะไรแก่ใคร คนที่เห็นแก่ตัว เป็นต้น เพราะคนเหล่านี้ถึงให้อะไรไป เขาก็ไม่สำนึกในบุญคุณ และอาจกล่าวตำหนิผู้ให้เสียอีกว่า ให้น้อยไปบ้าง ให้ของไม่ดีบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง

ผู้ที่ให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้
เมื่อเกิดความเดือดร้อนย่อมหาผู้ที่จะช่วยเหลือไม่ได้ เพราะเขาเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักกตัญญูกตเวทีหรืออุปการะคุณของผู้ให้ และการที่ไม่ให้แก่บุคคลที่ควรให้ ย่อมทำให้ไม่มีมิตรที่ดี จึงเปรียบเหมือนตัวคนเดียว ไม่มีมิตรสหายช่วยเหลือเกื้อกูล

ผู้ให้ทานแก่บุคคลที่ควรให้
ในคราวที่ตนได้รับความทุกข์ หรืออันตรายย่อมได้รับการช่วยเหลือ เพื่อทำให้ความทุกข์หรืออันตรายเบาบางลงหรือหมดสิ้นไป เพราะผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของผู้รับ จึงทำให้ผู้ให้มีมิตรที่ดี มีสหายที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๘</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}