เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาค ธ.ศ.ชั้นตรี (ชุดที่ ๒)
๑. | ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่ข้อใด ? ก. สติ-สัมปชัญญะ ข. หิริ-โอตตัปปะ ค. ขันติ-โสรัจจะ ง. กตัญญู- กตเวที |
๒. | ทำงานผิดพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? ก. ธรรมเป็นโลกบาล ข. ธรรมมีอุปการะมาก ค. ธรรมอันทำให้งาม ง. ธรรมหาได้ยาก |
๓. | ข้อความรณรงค์ว่า เลิกเหล้าเลิกจน สอนให้มีธรรมข้อใด ? ก. สติ ข. ประหยัด ค. ซื้อสัตย์ ง. กตัญญู |
๔. | ข้อใด มีความหมายตรงกับคำว่า พระในบ้าน ? ก. พระพุทธรูป ข. พระภูมิเจ้าที่ ค. พ่อแม่ ง. ปู่ ย่า ตา ยาย |
๕. | ข้อใดเป็นลักษณะของคนมีขันติ-โสรัจจะ ? ก. ปิดทองหลังพระ ข. ทองไม่รู้ร้อน ค. ยิ้มได้เมื่อภัยมา ง. น้ำนิ่งไหลลึก |
๖. | ชาวพุทธควรยึดถือสิ่งใดเป็นที่พึ่วสูงสุด ? ก. พระอินทร์ ข. พระพรหม ค. พระพิฆเณศวร์ ง. พระรัตนตรัย |
๗. | คำพูดเช่นใด มีผลทำลายความสามัคคี ? ก. พูดปด ข. พูดคำหยาบ ค. พูดส่อเสียด ง. พูดเพ้อเจ้อ |
๘. | เด็กติดเกมส์ เพราะมีอกุศลมูลข้อใด ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๙. | ธรรมเป็นเครื่องนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? ก. สังคหวัตถุ ๔ ข. จักร ๔ ค. อิทธิบาท ๔ ง. ปธาน ๔ |
๑๐. | ผู้ปฏิบัติตามหลัก จักร ๔ จะได้รับประโยชน์อย่างไร ? ก. มีความเจริญ ข. มีความยินดี ค. มีความยินร้าย ง. มีความยุติธรรม |
๑๑. | การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงการประพฤติเช่นไร ? ก. ถูกกาลเทศะ ข. ถูกใจเขา ค. ถูกศีลธรรม ง. ถูกใจเรา |
๑๒. | ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจของอคติ จะมีผลอย่างไร ? ก. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ข. ไม่มีคนนับถือ ค. ตัดสินผิดพลาด ง. ขาดความยุติธรรม |
๑๓. | หมั่นสร้างความดีให้เกิดขึ้นมีในตน ตรงกับปธานข้อใด ? ก. สังวรปธาน ข. ปหานปธาน ค. ภาวนาปธาน ง. ปธานธรรม |
๑๔. | ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ อยู่ในหมวดธรรมใด ? ก. อธิษฐานธรรม ข. อิทธิบาทธรรม ค. พรหมวิหารธรรม ง. ปธานธรรม |
๑๕. | ชาดกเรื่อง พระมหาชนก เน้นคุณธรรมข้อใด ? ก. ฉันทะ ข. วิริยะ ค. จิตตะ ง. วิมังสา |
๑๖. | เห็นคนอื่นได้ดีมีความสุข เราก็ยินดีด้วย ตรงกับธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๑๗. | อะไรเป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ? ก. ความเกิด ข. ตัณหา ค. กรรม ง. ความจน |
๑๘. | ปัญญาที่เกิดจากการฟังเรียกว่าอะไร ? ก. สุตมยปัญญา ข. จิตตามยปัญญา ค. ภาวนามยปัญญา ง. ปุจฉา-วิสัชนา |
๑๙. | ธรรมข้อใดเป็นคู่ปรับกับความเกียจคร้าน ? ก. สัทธา ข. วิริยะ ค. ขันติ ง. สมาธิ |
๒๐. | ขันธ์ ๕ ย่อลงเป็น ๒ อย่างตรงกับข้อใด ? ก. นามกับรูป ข. สัญญากับสังขาร ค. นามกับสัญญา ง. สังขารกับวิญญาณ |
๒๑. | เมาไม่ขับตั้งสติก่อนสตาร์ท แสดงถึงคารวะในข้อใด ? ก. พระพุทธ ข. พระธรรม ค. พระสงฆ์ ง. ความไม่ประมาท |
๒๒. | สาราณียธรรมสอนให้คนเป็นเช่นไร ? ก. มีความพอเพียง ข. เลี้ยงตนโดยชอบ ค. ไม่ประกอบอกุศล ง. รู้รักสามัคคี |
๒๓. | ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า สาราณียธรรม ? ก. อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ข. อยู่ให้เขารัก จากให้เขาคิดถึง ค. คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ง. ชั่วชังชี ดีชังสงฆ์ |
๒๔. | ข้อใดชื่อว่ารักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกัน ? ก. มีอะไรก็แบ่งปัน ข. มีอะไรช่วยกัน ค. ว่าอะไรก็ว่าตามกัน ง. รักษาระเบียบร่วมกัน |
๒๕. | เคารพในหลักประชาธิปไตย จัดเข้าในธรรมข้อใด ? ก. ทำดีต่อกัน ข. พูดดีต่อกัน ค. คิดดีต่อกัน ง. มีความเห็นร่วมกัน |
๒๖. | อริยทรัพย์ หมายถึงทรัพย์เช่นไร ? ก. ทรัพย์ภายใน ข. ทรัพย์ภายนอก ค. ทรัพย์มรดก ง. อสังหาริมทรัพย์ |
๒๗. | ใช้อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ตรงกับข้อใด ? ก. อุฏฐานสัมปทา ข. อารักขสัมปทา ค. กัลยาณมิตตตา ง. สมชีวิตา |
๒๘. | นกน้อยทำรังแต่พอตัว ตรงกับสัปปุริสธรรมข้อใด ? ก. อัตตัญญุตา ข. มัตตัญญุตา ค. กาลัญญุตา ง. ปริสัญญุตา |
๒๙. | เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ตรงกับข้อใด ? ก. อัตตุญญุตา ข. กาลัญญุตา ค. ปริสัญญุตา ง. มัตตัญญุตา |
๓๐. | โลกธรรม หมายถึงธรรมข้อใด ? ก. ธรรมรักษาโรค ข. ธรรมเหนือโลก ค. ธรรมที่อยู่คู่โลก ง. ธรรมที่สร้างโลก |
๓๑. | โลกธรรมจะเกิดขึ้นกับใคร ? ก. ข้าราชการ ข. คนใช้แรงงาน ค. คนค้าขาย ง. คนทุกคน |
๓๒. | โลกธรรมข้อใด จัดเป็นอนิฏฐารมณ์ ? ก. มีลาภ ข. มียศ ค. มีสุข ง. มีทุกข์ |
๓๓. | ตามหลักโลกธรรม เมื่อถูกนินทาให้ทำอย่างไร ? ก. หาทางนินทาตอบ ข. ถือว่าเป็นเรื่องธรรม ค. ทำเป็นไม่สนใจ ง. พยายามปรับปรุงตนเอง |
๓๔. | เมื่ออคติเกิดขึ้นสิ่งที่ถูกทำลายคืออะไร ? ก. ความยุติธรรม ข. ความมั่งคั่ง ค. ความรัก ง. ความนับถือ |
๓๕. | เมตตา มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. พลอยยินดี ข. คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ค. ไม่ยินดียินร้าย ง. ปรารถนาให้เป็นสุข |
๓๖. | พ่อแม่ตามใจลูกจนเสียคน เพราะมีอคติข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ |
๓๗. | รู้เหตุรู้ผล ตรงกับอธิษฐานธรรมข้อใด ? ก. ปัญญา ข. สัจจะ ค. จาคะ ง. อุปสมะ |
๓๘. | คนบรรลุความสำเร็จทุกอย่าง เพราะมีธรรมข้อใด ? ก. วุฑฒิ ๔ ข. จักร ๔ ค. อธิษฐานธรรม ง. อิทธิบาท ๔ |
๓๙. | เห็นคนทำความผิด อยากช่วย แต่ช่วยไม่ได้ ควรใช้ธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔๐. | การแสดงความยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี ตรงกับข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔๑. | ในการพิจารณาคดีความ ควรยึดธรรมข้อใดเป็นหลัก ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔๒. | อนันนตริยกรรม ๕ ให้ผลอย่างไร ? ก. เกิดเป็นเปรต ข. ตกนรกอเวจี ค. เกิดเป็นอสุรกาย ง. เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน |
๔๓. | การพิจารณาความแก่เนืองๆ มีประโยชน์อย่างไร ? ก. บรรเทาความเมาในวัย ข. บรรเทาความเมาในชีวิต ค. บรรเทาความยึดมั่น ง. บรรเทาความเห็นแก่ตัว |
๔๔. | คบคนพาล พาลไปหาผิด เพราะขาดสัปปุริสธรรมข้อใด ? ก. มัตตัญญุตา ข. กาลัญญุตา ค. ปริสัญญุตา ง. ปุคคลปโรปรัญญุตา |
๔๕. | เมมตาพรหมวิหาร ควรเจริญเมื่อใด ? ก. ในยามปกติ ข. เห็นเขาประสบทุกข์ ค. เห็นเขาได้ดีมีสุข ง. เห็นเขารับผลกรรม |
๔๖. | ทุกข์ในอริยสัจ เกิดจากอะไร ? ก. กิเลส ข. กรรม ค. วิบาก ง. ตัณหา |
๔๗. | ข้อใด ไม่ใช่อาินสงส์การฟังธรรม ก. เกิดความสงสัย ข. บรรเทาความสงสัย ค. เข้าใจเนื้อหาชัดเจน ง. จิตใจผ่องใส |
๔๘. | ข้อใดจัดเป็นสัทธาในพละ ๕ ? ก. เชื่อว่าโลกกลม ข. เชื่อว่าบาปไม่มีจริง ค. เชื่อว่าโลกหน้าไม่มี ง. เชื่อการตรัสรู้ |
๔๙. | วิญญาณในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด ? ก. ความรู้สึกว่าสุข ข. ความจำได้หมายรู้ ค. อารมณ์ที่เกิดกับใจ ง. ความรู้อารมณ์ |
๕๐. | สาราณิยธรรม มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ธรรมเป็นเครื่องระลึกถึง ข. ธรรมให้เกิดความสุข ค. ธรรมให้เกิดสามัคคี ง. ธรรมให้เกิดความเจริญ |