เก็งข้อสอบวิชาเบญจศีลเบญจธรรม (วินัย) ธ.ศ.ชั้นตรี (ชุดที่ ๒)
๑. | ผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญคุณธรรมทางใจ ควรเริ่มต้นที่อะไรก่อน ? ก. สวดมนต์ ข. ถือศีล ค. นั่งสมาธิ ง. แผ่เมตตา |
๒. | ศีล แปลตามรูปศัพท์ว่า ปกติ หมายถึงปกติอะไร ? ก. กายกับใจ ข. วาจากับใจ ค. กายกับวาจา ง. กาย วาจา ใจ |
๓. | สิกขาบทที่ ๑ มีข้อห้าม ๓ ประการ ยกเว้นข้อใด ? ก. ทำร้ายร่างกาย ข. ทำร้ายจิตใจ ค. ฆ่า ง. ทรกรรม |
๔. | คำว่า สัตว์ ในสิกขาบทที่ ๑ หมายถึงข้อใด ? ก. มนุษย์ ข. สัตว์ ค. เด็กในครรภ์ ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | สิกขาบทที่ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อปลูกฝังให้คนมีคุณธรรมใด ? ก. ความประหยัด ข. ความเสียสละ ค. ความมีเมตตา ง. ความกตัญญู |
๖. | ข้อใด ไม่ถือว่ากระทำผิดศีล ตามสิกขาบทที่ ๑ ? ก. ตัดต้นไม้ ข. ตัดแขน ค. กัดปลา ง. ชนไก่ |
๗. | การทำชีวิตให้ตกล่วงไป ในสิกขาบทที่ ๑ หมายถึงอะไร ? ก. ทำให้บาดเจ็บ ข. ทำให้พิการ ค. ทำให้ทรมาน ง. ทำให้ตาย |
๘. | ใช้งานสัตว์เกินกำลัง ไม่ให้หยุดพัก ปล่อยให้อดอยากซูบผอม จัดเป็นการกระทำประเภทใด ? ก. ใช้การ ข. นำไป ค. เล่นสนุก ง. ผจญสัตว์ |
๙. | เมื่อสัตว์มีคุณเสมอกัน ทำไมฆ่าสัตว์จึงมีโทษมากกว่า ? ก. สัตว์นั้นมีเจ้าของหวง ข. สัตว์นั้นมีชีวิต ค. ใช้ความพยายามมาก ง. มีจิตคิดจะฆ่า |
๑๐. | สิกขาบทที่ ๒ บัญญัติขึ้นให้เพื่อเว้นการเบียดเบียนกันในเรื่องใด ? ก. ชีวิต ข. ทรัพย์สิน ค. คู่ครอง ง. คำพูด |
๑๑. | สิกขาบทที่ ๒ มีความสัมพันธ์กับเรื่องใด ? ก. ความรักชาติ ข. ความรักสงบ ค. ความสามัคคี ง. ความพอเพียง |
๑๒. | ข้อใด ไม่ถือเป็นการกระทำผิดตามสิกขาบทที่ ๒ ? ก. กรรโชก ข. ชิงโชค ค. เลี่ยงภาษี ง. ซุกหุ้น |
๑๓. | ผู้กระทำความผิดในสิกขาบทที่ ๒ ควรเรียกว่าอะไร ? ก. คนเก่ง ข. คนเก่า ค. คนโกง ง. คนกล้า |
๑๔. | การซ่อนทรัพย์สินของตนที่จะต้องถูกยึด นำไปเก็บไว้เสียที่อื่น จัดเป็นการกระทำประเภทใด ? ก. ลักลอบ ข. เบียดบัง ค. ตระบัด ง. กรรโชก |
๑๕. | กู้หนี้ไปแล้ว ไม่ยอมใช้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตรงกับข้อใด ? ก. ตู่ ข. ฉ้อ ค. ตระบัด ง. หลอก |
๑๖. | การทำลายทรัพย์สินของทางราชการให้เสียหาย จัดเป็นการกระทำประเภทใด ? ก. ทำร้าย ข. ตัดช่อง ค. ผลาญ ง. ย่องเบา |
๑๗. | ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ในสิกขาบทที่ ๒ ? ก. แฉ ข. ฉ้อ ค. ฉก ง. ฉวย |
๑๘. | สิกขาบทที่ ๓ บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีความรักในเรื่องใด ? ก. ชาติ ข. เพื่อน ค. คู่ครอง ง. องค์กร |
๑๙. | การปฏิบัติตนตามสิกขาบทที่ ๓ ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ? ก. อาชญากรรม ข. หย่าร้าง ค. ลูกสาว ง. ลูกสะใภ้ |
๒๐. | หญิงผู้เป็นเหล่ากอของสัตว์ ในสิกขาบทที่ ๓ ตรงกับข้อใด ? ก. แม่ ข. ยาย ค. ลูกสาว ง. ลูกสะใภ้ |
๒๑. | หญิงผู้เป็นเทือกเถาของตน ในสิกขาบทที่ ๓ ตรงกับข้อใด ? ก. ยาย ข. แม่ยาย ค. ลูกสะใภ้ ง. ลูกสาว |
๒๒. | หญิงชายที่รับหมั้นกันแล้ว ถือว่าอยู่ในความพิทักษ์ของใคร ? ก. พ่อ แม่ ข. พี่ชาย ค. น้องชาย ง. คู่หมั้น |
๒๓. | ไม่นอกใจภรรยาตน ได้ชื่อว่า ไม่ลุอำนาจแก่กิเลสใด ? ก. มานะ ข. ราคะ ค. โทสะ ง. โมหะ |
๒๔. | สิกขาบทที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อเน้นให้คนทำความดีด้านใด ? ก. ความเพียร ข. ความมีสัจจะ ค. ความอดทน ง. ความมัธยัสถ์ |
๒๕. | เห็นบอกว่าไม่เห็น ไม่เห็นบอกว่าเห็น เป็นลักษณะของคำพูดใด ? ก. คำเท็จ ข. คำหยาบ ค. คำส่อเสียด ง. คำเพ้อเจ้อ |
๒๖. | ไม่เจ็บไม่ป่วย แต่แสดงตนทำทางให้เขาเห็นว่า เป็นคนเจ็บป่วย จัดเป็นมุสาประเภทใด ? ก. ทำเลส ข. มารยา ค. ทำเล่ห์กระเทห์ ง. อำความ |
๒๗. | ตกลงว่าจะให้ ภายหลังไม่ให้ตามที่พูด จัดเข้าในปฏิสสวะข้อใด ? ก. ผิดสัญญา ข. คืนคำ ค. เสียสัตย์ ง. ถูกทุกข้อ |
๒๘. | คำพูดที่ไม่นับเข้าในข้อห้าม ที่เรียกว่ายถาสัญญา ตรงกับข้อใด ? ก. มารยา ข. คืนคำ ค. สาบาน ง. โวหาร |
๒๙. | อวดอ้างสรรพคุณยาเกินความเป็นจริง จัดเป็นมุสาประเภท ? ก. โวหาร ข. ทนสาบาน ค. สำคัญผิด ง. เสริมความ |
๓๐. | สิกขาบทที่ ๕ บัญญัติขึ้นเพื่อให้คนงดเว้นในเรื่องใด ? ก. ก่อการร้าย ข. สิ่งมึนเมา ค. โจรกรรม ง. การทุจริต |
๓๑. | การดื่มสุรา เป็นเหตุบั่นทอนปัญญา ตรงกับข้อใด ? ก. ร่างกายทรุดโทรม ข. จิตใจท้อถอย ค. ความคิดเฉื่อยชา ง. พูดเลอะเลือน |
๓๒. | ข้อใด ไม่โทษของการดื่มสุรา ? ก. คนยกย่อง ข. ก่อวิวาท ค. เสียทรัพย์ ง. เกิดโรค |
๓๓. | คนติดสุรา เลิกยาก จะต้องซื้อดื่มทุกวัน ตรงกับโทษข้อใด ? ก. เสียการงาน ข. เสียหน้าที่ ค. เสียชื่อเสียง ง. เสียทรัพย์ |
๓๔. | ใช้จ่ายทรัพย์เพื่อของไม่จำเป็น ตรงกับข้อใด ? ก. ซื้อยาแดง ข. ซื้อยาสีฟัน ค. ซื้อยาหอม ง. ซื้อยาแก้ไข |
๓๕. | ความประมาทขาดสติ ตามสิกขาบทที่ ๕ มีอะไรเป็นมูลเหตุ ? ก. ความยากจน ข. ความฟุ้งซ่าน ค. ความเคียด ง. ความมึนเมา |
๓๖. | วิรัติ มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาศีล ๕ อย่างไร ? ก. เป็นเครื่องละเว้น ข. เป็นเครื่องกำจัด ค. เป็นเครื่องป้องกัน ง. เป็นเครื่องรักษา |
๓๗. | สัมปัตตวิรัติ เป็นการงดเว้นจากวัตถุที่มาปรากฎในลักษณะใด ? ก. ก่อนหน้า ข. ต่อหน้า ค. ลับหน้า ง. ลับหลัง |
๓๘. | การงดทำร้ายคนที่เป็นศัตรูกันในข้อใด ไม่จัดเป็นสัมปัตตวิรัติ ? ก. งดเพราะมีความสงสาร ข. งดเพราะกลัวความผิด ค. งดเพราะกลัวเป็นบาป ง. งดเพราะไปแล้วไม่พบ |
๓๙. | การงดเว้นที่เรียกว่า สมุจเฉทวิรัติ มีลักษณะเช่นไร ? ก. งดเว้นเฉพาะหน้า ข. งดเว้นชั่วคราว ค. งดเว้นเฉพาะองค์ ง. งดเว้นเด็ดขาด |
๔๐. | การงดเว้นจากปาณาติบาต ต้องอาศัยอะไรเป็นเครื่องสนับสนุน ? ก. ความมีเมตตา ข. ความมีสติ ค. ความกตัญญู ง. ความมีสัตย์ |
๔๑. | การขาดเมตตาในข้อใด เปรียบได้กับคนใจจืด ? ก. เห็นเขาได้ดีกลับทนไม่ได้ ข. เห็นเขายากจนกับดูดาย ค. เห็นเขาจมน้ำกลับไม่ช่วย ง. เห็นเขาถูกยิงกลับวางเฉย |
๔๒. | การกักตุนน้ำมันเพื่อเก็งกำไร ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ? ก. กิจการ ข. บุคคล ค. วัตถุ ง. ถูกทุกข้อ |
๔๓. | การบังคับเด็กให้ทำงานเกินกำลัง ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในเรื่องอะไร ? ก. กิจการ ข. บุคคล ค. วัตถุ ง. ถูกทุกข้อ |
๔๔. | มีชีวิตพออยู่พอกิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับข้อใด ? ก. สัมมาสัมกัปปะ ข. สัมมาอาชีวะ ค. สัมมาวายามะ ง. สัมมาสมาธิ |
๔๕. | ข้อใด ชื่อว่าเป็นการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ผิด ? ก. เก็บขยะขาย ข. ขายซีดีปลอม ค. รับจำนำของ ง. รับเช่าพระบูชา |
๔๖. | กิริยาที่ระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกาม เรียกว่าอะไร ? ก. สำรวมกาย ข. สำรวมวาจา ค. สำรวมใจ ง. สำรวมกาม |
๔๗. | กัลยาณธรรมข้อที่ ๓ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. รักนวลสงวนตัว ข. รักตัวกลัวตาย ค. รักง่ายหน่ายเร็ว ง. รักจางนางหาย |
๔๘. | การให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตรงกับข้อใด ? ก. ความสวามิภักดิ์ ข. ความชื่อตรง ค. ความเที่ยงธรรม ง. ความกตัญญู |
๔๙. | การจับจ่ายใช้สอยแต่พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ชื่อว่ามีสติรอบคอบในเรื่องใด ? ก. การทำงาน ข. การวางตัว ค. การบริโภค ง. ถูกทุกข้อ |
๕๐. | อยู่คนเดียวควรระวังความคิด อยู่ท่ามกลางมิตรควรระวังวาจา ชื่อว่ามีสติเรื่องใด ? ก. การทำงาน ข. การวางตัว ค. การบริโภค ง. ถูกทุกข้อ |