เก็งข้อสอบเรื่องศาสนพิธี น.ธ.ชั้นโท [พระเณร]
๑. | ศาสนพิธี คืออะไร ? มีกี่หมวด ? อะไรบ้าง ? ศาสนพิธี คือพิธีกรรมที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา ฯ มีอยู่ ๔ หมวด คือ ๑. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล ๒. หมวดบุญพิธี ว่าด้วยพิธีทำบุญ ๓. หมวดทานพิธี ว่าด้วยพิธีถวายทาน ๔. หมวดปกิณกพิธี ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ |
๒. | การศึกษาให้เข้าใจในศาสนพิธี มีประโยชน์อย่างไร ? ๑. ทำให้เข้าใจเรื่องของศาสนพิธีได้โดยถูกต้อง ๒. ทำให้เห็นเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ไร้สาระ ๓. ทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนจากขนบธรรมเนียมประเพณี ฯ |
๑. | กุศลพิธี คืออะไร มีกี่อย่าง อะไรบ้าง จงบอกมาให้ครบ ? กุศลพิธี คือ พิธีบำเพ็ญกุศล มี ๗ อย่าง ๑. พิธีเข้าพรรษา ๒. พิธีถือนิสัย ๓. พิธีทำสามีจิกรรม ๔. พิธีทำวัตรสวดมนต์ ๕. พิธีกรรมวันธรรมสวนะ ๖. พิธีทำสังฆอุโบสถ ๗. พิธีออกพรรษา |
๒. | วันธรรมสวนะ คือวันอะไร ? ทรงอนุญาตให้มีในวันใดบ้าง ? วันธรรมสวนะ คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรม หรือที่เรียกว่า “วันพระ” ฯ ทรงอนุญาตให้มีในวัน ๘ ค่ำ และวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ของปักษ์ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ฯ |
๓. | ศาสนพิธีเล่ม ๒ แสดงอุโบสถกรรมไว้กี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? แสดงอุโบสถกรรมไว้ ๓ ประเภท ฯ คือ สังฆอุโบสถ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑ ฯ |
๔. | จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ การเข้าพรรษา การออกพรรษา ฯ การเข้าพรรษา หมายถึง การที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน ไม่ไปค้างแรมให้ล่วงราตรีในที่แห่งอื่นระหว่างผูกใจนั้น เว้นแต่ไปด้วยสัตตาหกรณียะ ฯ การออกพรรษา หมายถึง กาลที่สิ้นสุดกำหนดอยู่จำพรรษาของภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ มีพิธีเป็นสังฆกรรมพิเศษโดยเฉพาะ เรียกโดยภาษาพระวินัยว่า ปวารณากรรม คือการทำปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ร่วมกันตลอดเวลา ๓ เดือน ฯ |
๕. | การทำวัตรสวดมนต์ มีประโยชน์อย่างไร ? จงอธิบาย เป็นอุบายสงบใจ ไม่ให้คิดวุ่นวายตามอารมณ์ได้ชั่วขณะที่ทำ เมื่อทำประจำวันละ ๒ เวลา ทั้งเช้าเย็น ครั้งละครึ่งชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก็เท่ากับได้ใช้เวลาสงบจิตได้ วันละไม่ต่ำกว่า ๑ ใน ๒๔ ชั่วโมง ฯ |
๖. | สามีจิกรรม หมายถึงอะไร ? มีกี่แบบ ? อะไรบ้าง ? สามีจิกรรม หมายถึง การขอขมาโทษกันให้อภัยกันทุกโอกาส ไม่ว่าจะมีโทษขัดข้องหมองใจกันหรือไม่ก็ตาม ถึงโอกาสที่ควรทำสามีจิกรรมกันแล้ว ทุกรูปไม่พึงละโอกาสเสีย ฯ มี ๒ แบบ ฯ คือ ๑. แบบขอขมาโทษ ๒. แบบถวายสักการะ ฯ |
๗. | จงเขียนอุโบสถศีลข้อที่ ๓ และ อุโบสถศีลข้อที่ ๗ มาดู อุโบสถศีลข้อที่ ๓ ว่า อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ฯ อุโบสถศีลข้อที่ ๗ ว่า นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ฯ |
๘. | ธรรมเนียมของสงฆ์ที่พึงปฏิบัติชอบต่อกันเพื่อความสามัคคี เรียกว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? เรียกว่า สามีจิกรรม ฯ หมายถึง การขอขมาโทษ และการให้อภัยกัน ฯ |
๑. | บุญพิธี คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? บุญพิธี คือพิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว หรือในวันสำคัญต่าง ๆ ของคนไทยเพื่อเป็นสิริมงคล เรียกว่า บุญพิธี ฯ มี ๒ ประเภท คือ ฯ ๑. ทำบุญงานมงคล ๒. ทำบุญงานอวมงคล ฯ |
๒. | วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ? เนื่องด้วยวันนั้นมีบุญพิธีอะไรที่ทำกันมาจนถึงบัดนี้ ? วันเทโวโรหณะ คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จขึ้นไปจำพรรษาใน ดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาส โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก ฯ มีการทำบุญตักบาตรแด่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ จนเป็นประเพณีทำบุญตักบาตร ที่เรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ฯ |
๓. | วิหารทานคาถา ซึ่งเป็นบทอนุโมทนาพิเศษ เริ่มต้นด้วย สีตํ อุณฺหํ ปฏิหนฺติ ฯลฯ นิยมใช้สวดเมื่อใด ? เมื่อทายกถวายเสนาสนะมี โบสถ์ วิหาร กุฎี เป็นต้น ฯ |
๔. | คำว่า เจริญพระพุทธมนต์ กับสวดพระพุทธมนต์ ใช้ต่างกันอย่างไร ? การทำบุญฉลองอัฐิจัดเข้าในอย่างไหนใน ๒ อย่างข้างต้น ? เจริญพระพุทธมนต์ใช้ในงานมงคล สวดพระพุทธมนต์ใช้ในงานอวมงคล ฯ จัดเข้าในการเจริญพระพุทธมนต์ แต่ไม่ต้องตั้งขันน้ำมนต์และสายสิญจน์ ฯ |
๕. | งานทำบุญต่อนามหรือต่ออายุ คืองานทำบุญเช่นไร ? คืองานทำบุญที่คณะญาติของผู้กำลังป่วยหนักจัดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยหายป่วยและเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลในบั้นปลายแห่งชีวิตของตน หรือเป็นความประสงค์ของผู้จะทำบุญต่ออายุเองเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ฯ |
๖. | สามัญอนุโมทนา กับ วิเสสอนุโมทนา ต่างกันอย่างไร ? ต่างกันอย่างนี้ สามัญอนุโมทนา คือการอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันทั่วไปเป็นปกติ ไม่ว่างานใดก็ใช้อนุโมทนาอย่างนั้น ส่วนวิเสสอนุโมทนา คือการอนุโมทนาด้วยบทสวดสำหรับอนุโมทนาเป็นพิเศษ เฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง ฯ |
๗. | บท อทาสิ เม อกาสิ เม… และบท อยญฺจ โข ทกฺขิณา ทินฺนา… ใช้ต่างกันอย่างไร ? ใช้ต่างกันอย่างนี้ คือ อทาสิ เม อกาสิ เม… ใช้ในกรณีที่ศพยังอยู่ อยญฺจ โข ทกฺขิณา ทินฺนา… ใช้ในกรณีทำบุญอัฐิ ฯ |
๘. | ในงานมงคลที่ทำกันอย่างสามัญทั่วไป นิยมเจริญพระพุทธมนต์ด้วยบทสวดมนต์ที่รวมเรียกสั้นๆ ว่าอะไร ? และต้องมีบทอื่นมาประกอบอีก เรียกว่าอะไร ? เรียกว่า เจ็ดตำนาน ฯ และต้องมีบทอื่นมาประกอบอีกเรียกว่า ต้นสวดมนต์หรือต้นตำนาน และท้ายสวดมนต์ ฯ |
๙. | เทศน์มหาชาติ คือการเทศน์เรื่องอะไร ? มีกี่กัณฑ์ ? จบเทศน์มหาชาติแล้ว นิยมเทศน์ต่อด้วยเรื่องอะไร ? เทศน์มหาชาติ คือการเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดก ฯ มี ๑๓ กัณฑ์ ฯ จบเทศน์มหาชาตินิยมเทศน์ต่อด้วยเรื่อง จตุราริยสัจจกถา ฯ |
๑. | จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ก. ปาฏิปุคคลิกทาน ข. เภสัชทาน ค. สลากภัต ง. ผ้าวัสสิกสาฎก จ. ผ้าอัจเจกจีวร ฯ ก. ปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้ ข. เภสัชทาน คือการถวายเภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ค. สลากภัต คือภัตตาหารที่ทายกทายิกาถวายตามสลาก ง. ผ้าวัสสิกสาฎก คือผ้าที่อธิษฐานสำหรับใช้นุ่งในเวลาอาบน้ำฝน หรืออาบน้ำทั่วไป จ. ผ้าอัจเจกจีวร คือผ้าจำนำพรรษาที่ทายกรีบด่วนถวายก่อนวันออกพรรษา |
๒. | การถวายผ้าวัสสิกสาฎกนั้น มีมูลเหตุมาจากอะไร ? ใครเป็นผู้ถวายคนแรก ? การถวายผ้าวัสสิกสาฎกมีมูลเหตุมาจาก เดิมยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุมีผ้าวัสสิกสาฎก ภิกษุทั้งหลายจึงเปลือยกายอาบน้ำ ฯ นางวิสาขามหาอุบาสิกาทราบเรื่องนั้นแล้วเห็นว่าไม่สมควรแก่เพศสมณะ จึงทูลขอพระพุทธานุญาต เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯ |
๑. | ปกิณกพิธี คืออะไร ? ที่ควรศึกษามีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ปกิณกพิธี คือพิธีกรรมเบ็ดเตล็ดบางอย่างที่ชาวพุทธนิยมกัน แต่ยังไม่จัดเป็นหมวดหมู่เรียกว่า ปกิณกพิธี ฯ ที่ควรศึกษามีอยู่ ๕ ประการ คือ ๑. วิธีสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน ๒. วิธีไหว้ครูของนักเรียน ๓. วิธีจับด้ายสายสิญจน์ ๔. วิธีบังสุกุลเป็น ๕. วิธีบอกศักราช |
๒. | บังสุกุลเป็น คืออะไร ? คาถาที่ใช้บังสุกุลเป็น ว่าอย่างไร ? บังสุกุลเป็น คือบุญกิริยาที่เจ้าภาพประสงค์จะบริจาควัตถุเนื่องด้วยกายของตน โดยเฉพาะผ้าอุทิศสงฆ์ให้เป็นผ้าบังสุกุล ปกตินิยมทำเมื่อป่วยหนัก เป็นการกำหนดมรณานุสสติวิธีหนึ่ง ฯ คาถาที่ใช้บังสุกุลเป็นว่า อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ ฯ |
๓. | จงเขียนคาถาที่ใช้ในการบังสุกุลตาย มาดู ? คาถาที่ใช้ในการบังสุกุลตายว่า อนิจฺจา วตสํ ขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วู ปสโมสุโข ฯ |