เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา</h1>


เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา
{getButton} $text={นิพพิทา ความเบื่อหน่าย} $color={#009933}
๑. นิพพิทา คือความหน่ายในอะไร ?
ก. การศึกษา
ข. ทุกข์
ค. บริวาร
ง. ชีวิต
๒. คำว่า นิพพิทา มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก. หน่ายทุกข์
ข. สิ้นกำหนัด
ค. หลุดพ้น
ง. หมดจด
๓. โลกโดยตรง หมายถึงข้อใด ?
ก. อากาศ
ข. น้ำ
ค. แผ่นดิน
ง. ป่าไม้
๔. โลกโดยอ้อม หมายถึงข้อใด ?
ก. อากาศ
ข. น้ำ
ค. แผ่นดิน
ง. หมู่สัตว์
๕. คำว่า จงมาดูโลกนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อพระประสงค์ใด ?
ก. ให้เพลิดเพลิน
ข. ให้สลดใจ
ค. มิให้หลงชม
ง. ให้เห็นโลก
๖. คำว่า จงมาดูโลกนี้ พระองค์ตรัสไว้เพื่อพระประสงค์ใด ?
ก. ให้เพลิดเพลิน
ข. ให้เกิดปัญญา
ค. ให้รู้เหตุ
ง. ให้รู้ภูมิศาสตร์
๗. พระพุทธเจ้าทรงเปรียบโลกเหมือนกับอะไร ?
ก. บ้านเรือน
ข. ราชรถ
ค. อัตภาพ
ง. พระราชวัง
๘. พระพุทธเจ้าทรงเปรียบอะไรว่า ตระการดุชราชรถ ?
ก. ชีวิต
ข. สังขาร
ค. อัตภาพ
ง. โลก
๙. พระพุทธเจ้าตรัสเรียกผู้หมกอยู่ในโลกว่าอะไร ?
ก. คนเขลา
ข. คนไร้การศึกษา
ค. คนดื้อร้ัน
ง. คนขาดสติ
๑๐. คำว่า คนเขลา หมายถึงใคร ?
ก. คนอันธพาล
ข. คนโง่
ค. คนไร้ปัญญา
ง. คนขาดสติ
๑๑. คำว่า พวกผู้รู้ หมายถึงใคร ?
ก. ผู้มีการศึกษา
ข. ผู้รู้โลกตามเป็นจริง
ค. ผู้รู้โลกธรรม
ง. ผู้รู้ทันเหตุการณ์
๑๒. ผู้ไม่เห็นโลกตามเป็นจริง จะได้รับผลอย่างไร ?
ก. สุขๆ ทุกข์ๆ
ข. ทุกข์อย่างเดียว
ค. บรมสุข
ง. นิรามิสสุข
๑๓. ผู้เห็นโลกตามเป็นจริง จะได้รับสุขประเภทใด ?
ก. สุขๆ ทุกข์ๆ
ข. สุขทางโลก
ค. สามิสสุข
ง. นิรามิสสุข
๑๔. ทำอย่างไร จึงจะไม่ข้องอยู่ในโลก ?
ก. ออกบวช
ข. ปรารถนาไม่เกิดอีก
ค. ไม่ยุ่งกับใคร
ง. ไม่ติดใจกามคุณ
๑๕. ข้อใด เป็นอาการสำรวมจิต ?
ก. สำรวมอินทรีย์
ข. เจริญกัมมัฏฐาน
ค. เจริญวิปัสสนา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๖. ข้อใด ไม่ใช่อาการสำรวมจิต ?
ก. สำรวมอินทรีย์
ข. เจริญกัมมัฏฐาน
ค. เจริญวิปัสสนา
ง. รักษาศีล
๑๗. วัตถุกามเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดอยู่เรียกว่าอะไร ?
ก. ขันธมาร
ข. บ่วงแห่งมาร
ค. เสนามาร
ง. มัจจุมาร
๑๘. บ่วงแห่งมารที่คล้องบุคคลบุคคลให้ติดอยู่ในโลก หมายถึงข้อใด ?
ก. กิเลสมาร
ข. วัตถุกาม
ค. กามตัณหา
ง. กามราคะ
๑๙. กิเลสกามคือเจตสิกอันเศร้าหมอง เรียกว่าอะไร ?
ก. มาร
ข. บ่วงแห่งมาร
ค. เสนามาร
ง. มัจจุมาร
๒๐. โทษล้างผลาญคุณความดี ทำให้เสียคน เรียกว่าอะไร ?
ก. มาร
ข. บ่วงมาร
ค. เสนามาร
ง. มัจจุมาร
๒๑. เห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นทางแห่งวิสุทธิ ?
ก. ไม่เที่ยง
ข. เป็นทุกข์
ค. เป็นอนัตตา
ง. ถูกทุกข้อ
๒๒. เห็นสังขารอย่างไร ไม่ใช่ทางแห่งวิสุทธิ ?
ก. ไม่เที่ยง
ข. เป็นทุกข์
ค. เป็นอัตตา
ง. เป็นอนัตตา
๒๓. สังขารในขันธ์ ๕ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก. ความรุ้สึก
ข. ความจำ
ค. ความคิดอ่านต่างๆ
ง. ความรู้แจ้ง
๒๔. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่าอะไร ?
ก. ขันธ์ ๔
ข. ขันธ์ ๕
ค. ขันธ์ ๖
ง. ขันธ์ ๗
๒๕. คำว่า สังขาร ในอุทเทสปฏิปทาแห่งนิพพาน ได้แก่อะไร ?
ก. จิต
ข. เบญจขันธ์
ค. อินทรีย์
ง. อายตนะ
๒๖. ข้อใด จัดเป็นวิสังขาร ?
ก. วิญญาณ
ข. เวทนา
ค. สัญญา
ง. นิพพาน
๒๗. ความไม่เที่ยง เป็นลักษณะของอะไร ?
ก. รูป
ข. เวทนา
ค. สัญญา
ง. ถูกทุกข้อ
๒๘. ข้อใด กล่าวความหมายของอนิจจตาได้ถูกต้อง ?
ก. ทนได้ยาก
ข. เกิดและเสื่อมสิ้นไป
ค. ไม่มีเจ้าของ
ง. ไม่อยู่ในอำนาจ
๒๙. อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นอนิจจา ความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขาร ?
ก. ศัลยกรรม
ข. อิริยาบถ
ค. สันตติ
ง. ฆนสัญญา
๓๐. ทุกขตา คือความเป็นทุกข์แห่งสังขาร หมายถึงข้อใด ?
ก. ความเจ็บป่วย
ข. ความโศกเศร้า
ค. ความหิว
ง. ถูกทุกข้อ
๓๑. ข้อใด กล่าวความหมายของทุกขตาได้ถูกต้อง ?
ก. ทนได้ยาก
ข. เกิดและเสื่อมสิ้นไป
ค. ไม่มีเจ้าของ
ง. ไม่อยู่ในอำนาจ
๓๒. อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขาร ?
ก. สุขเวทนา
ข. อิริยาบถ
ค. สันตติ
ง. ฆนสัญญา
๓๓. สภาวทุกข์ คือทุกข์ตามสภาพ หมายถึงข้อใด ?
ก. ความแก่
ข. ความหิว
ค. ความกระวนกระวาย
ง. ความโศกเศร้า
๓๔. เกิด แก่ เจ็บ ตาย จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก. สภาวทุกข์
ข. ทุกข์จร
ค. ทุกข์ประจำ
ง. พยาธิทุกข์
๓๕. ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์ที่จรมาในชีวิต หมายถึงข้อใด ?
ก. ความทุกข์กาย
ข. ความทุกข์ใจ
ค. ความโศกเศร้า
ง. ถูกทุกข้อ
๓๖. ความเศร้าโศกจักเป็นทุกข์ชนิดใด ?
ก. สภาวทุกข์
ข. ปกิณกทุกข์
ค. นิพัทธทุกข์
ง. สหคตทุกข์
๓๗. นิพัทธทุกข์ คือทุกข์ประจำวัน หมายถึงข้อใด ?
ก. ความหิว
ข. ความเสียใจ
ค. ความเจ็บป่วย
ง. ความแก่
๓๘. ความหิว หนาว ร้อน เป็นต้น จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก. สภาวทุกข์
ข. วิปากทุกข์
ค. นิพัทธทุกข์
ง. พยาธิทุกข์
๓๙. พยาธิทุกข์ หมายถึงทุกข์ในข้อใด ?
ก. ปวดศรีษะ
ข. ความโศกเศร้า
ค. ความหิว
ง. ความแก่
๔๐. สันตาปทุกข์ ทุกข์เพราะถูกอะไรเผา ?
ก. พระอาทิตย์
ข. ไฟ
ค. กิเลส
ง. ความหิว
๔๑. วิปากทุกข์ คือทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว หมายถึงข้อใด ?
ก. ความเดือดร้อนใจ
ข. ความเจ็บป่วย
ค. ความเกิด
ง. ความแก่
๔๒. สหคตทุกข์ คือทุกข์ไปด้วยกัน หมายถึงข้อใด ?
ก. มีลาภเสื่อมลาภ
ข. มียศเสื่อมยศ
ค. มีสุขแล้วตกทุกข์
ง. ถูกทุกข้อ
๔๓. อนัตตตา คือความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร หมายถึงข้อใด ?
ก. ไม่เที่ยง
ข. เป็นทุกข์
ค. ไม่ใช่ตัวตน
ง. ถูกทุกข้อ
๔๔. อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นอนัตตา ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร ?
ก. มานะ
ข. อิริยาบถ
ค. สันตติ
ง. ฆนสัญญา
๔๕. สังขารเป็นอนัตตา โดยเป็นสภาวะหาเจ้าของไม่ได้ คือข้อใด ?
ก. นั่นมิใช่ของเรา
ข. นั่นมิใช่เรา
ค. นั่นมิใช่ตนของเรา
ง. ถูกทุกข้อ
๔๖. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร กำหนดรู้ได้อย่างไร ?
ก. ไม่อยู่ในอำนาจ
ข. แย้งต่ออัตตา
ค. ไม่มีเจ้าของ
ง. ถูกทุกข้อ
๔๗. การเห็นสังขารเป็นอนัตตา ต้องมีอะไรกำกับจึงไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก. สัทธา
ข. สติ
ค. สัมปชัญญะ
ง. โยนิโสมนสิการ


{getButton} $text={วิราคะ ความสิ้นกำหนัด} $color={#009933}
๑. วิราคะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก. ความสงบ
ข. ความสิ้นกำหนัด
ค. ความหมดจด
ง. ความหลุดพ้น
๒. ธรรมที่เป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง เรียกว่าอะไร ?
ก. วิสุทธิ
ข. วิมุตติ
ค. วิราคะ
ง. สันติ
๓. ไวพจน์แห่งวิราคะ มีกี่อย่าง ?
ก. ๔
ข. ๖
ค. ๘
ง. ๑๐
๔. ไวพจน์แห่งวิราคะมี ๘ อย่าง ไวพจน์นั้นหมายถึงคำเช่นไร ?
ก. คำแทน
ข. คำถาม
ค. คำตอบ
ง. คำอ่าน
๕. ความหน่ายในสังขาร เป็นเหตุให้อะไรเกิดขึ้น ?
ก. ความหลุดพ้น
ข. ความสงบ
ค. ความสันโดษ
ง. ความสิ้นกำหนัด
๖. ความเมาในคำว่า มทนิมฺมทโน หมายถึงเมาอะไร ?
ก. ยาบ้า
ข. การพนัน
ค. สุรา
ง. กิเลส
๗. คำว่า ตัณหา มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก. ความอาลัย
ข. ความดับ
ค. ความเมา
ง. ความทะยานอยาก
๘. นิโรธ ความดับ หมายถึงอะไรดับ?
ก. ตัณหา
ข. จิต
ค. ชีวิต
ง. ไฟ
๙. วัฏฏะ ๓ หมายถึงข้อใด ?
ก. โลภ โกรธ หลง
ข. กิเลส กรรม วิบาก
ค. ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ง. ถูกทุกข้อ
๑๐. ข้อใด มีความหมายตรงกับคำว่า อาลัย ?
ก. ความสูญเสีย
ข. ความติดใจ
ค. ความเศร้าโศก
ง. ความผิดหวัง
๑๑. อาลัย หมายถึงความห่วงใยในเรื่องใด ?
ก. รูปสวย
ข. เสียงไพเราะ
ค. กลิ่นหอม
ง. ถูกทุกข้อ
๑๒. เพราะสิ้นกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ?
ก. อาสวะ
ข. ตัณหา
ค. ราคะ
ง. นิวรณ์


{getButton} $text={วิมุตติ ความหลุดพ้น} $color={#009933}
๑. ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ เป็นวิมุตติใด ?
ก. เจโตวิมุตติ
ข. ปัญญาวิมุตติ
ค. สมุจเฉทวิมุตติ
ง. นิสสรณวิมุตติ
๒. วิมุตติ ความหลุดพ้น หมายถึงหลุดพ้นจากอะไร ?
ก. อาสวะ
ข. ตัณหา
ค. อุปาทาน
ง. มิจฉาทิฏฐิ
๓. ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา เป็นวิมุตติใด ?
ก. เจโตวิมุตติ
ข. ปัญญาวิมุตติ
ค. สมุจเฉทวิมุตติ
ง. นิสสรณวิมุตติ
๔. ความหลุดพ้นด้วยอำนาจพิจารณาไตรลักษณ์ จัดเป็นวิมุตติใด ?
ก. เจโตวิมุตติ
ข. ปัญญาวิมุตติ
ค. ตทังควิมุตติ
ง. วิกขัมภนวิมุตติ
๕. วิมุตติใด จัดเป็นโลกิยะ ?
ก. ตทังควิมุตติ
ข. สมุจเฉทวิมุตติ
ค. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
ง. นิสสรณวิมุตติ
๖. วิขัมภนวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นด้วยอำนาจอะไร ?
ก. ฌาน
ข. ญาณ
ค. สัทธา
ง. ปัญญา
๗. ผู้ปฏิบัติธรรมหลุดพ้นชั่วคราวด้วยอำนาจกำลังฌานจัดเป็นวิมุตติใด ?
ก. ตทังควิมุตติ
ข. วิกขัมภนวิมุตติ
ค. สมุจเฉทวิมุตติ
ง. นิสสรณวิมุตติ
๘. ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค จัดเป็นวิมุตติใด ?
ก. ตทังควิมุตติ
ข. วิกขัมภนวิมุตติ
ค. สมุจเฉทวิมุตติ
ง. นิสสรณวิมุตติ
๙. ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้นั้น หมายถึงข่มอะไร ?
ก. ตัณหา
ข. ราคะ
ค. นิวรณ์
ง. อุปาทาน
๑๐. ความหลุดพ้นด้วยสงบราบ เป็นวิมุตติใด ?
ก. เจโตวิมุตติ
ข. ปัญญาวิมุตติ
ค. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
ง. นิสสรณวิมุตติ
๑๑. วิมุตติใด จัดเป็นโลกุตตระ ?
ก. สมุจเฉทวิมุตติ
ข. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
ค. นิสสรณวิมุตติ
ง. ถูกทุกข้อ


{getButton} $text={วิสุทธิ ความหมดจด} $color={#009933}
๑. วิสุทธิ แปลว่าอะไร ?
ก. ความหมดจด
ข. ความหลุดพ้น
ค. ความสิ้นกำหนัด
ง. ความสงบ
๒. ความหมดจดในพระพุทธศาสนา จะมีได้ด้วยวิธี ?
ก. ตัดกรรม
ข. สะเดาะเคราะห์
ค. สร้างปัญญา
ง. ทำบุญล้างบาป
๓. วิสุทธิ คือความหมดจด ใครบันดาลให้ได้ ?
ก. ตนเอง
ข. พระพรหม
ค. โหราจารย์
ง. เทพเจ้า
๔. ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีได้ด้วยอะไร ?
ก. ศีล
ข. สมาธิ
ค. ปัญญา
ง. ภาวนา
๕. ไม่ฆ่าสัตว์ เป็นวิสุทธิใด ?
ก. ศีลวิสุทธิ
ข. จิตตวิสุทธิ
ค. ทิฏฐิวิสุทธิ
ง. กังขาวิตรณวิสุทธิ
๖. บำเพ็ญสมาธิได้ฌาน จัดเป็นวิสุทธิใด ?
ก. สีลวิสุทธิ
ข. จิตตวิสุทธิ
ค. ทิฏฐิวิสุทธิ
ง. ญาณทัสสนวิสุทธิ
๗. มีความเห็นถูกต้องตามหลักศาสนา จัดเป็นวิสุทธิใด ?
ก. สีลวิสุทธิ
ข. จิตตวิสุทธิ
ค. ทิฏฐิวิสุทธิ
ง. กังขาวิตรณวิสุทธิ
๘. ญาณหยั่งเห็นความเกิดดับแห่งสังขาร จัดเป็นญาณอะไร ?
ก. อุทยัพพยญาณ
ข. ภังคญาณ
ค. อาทีนวญาณ
ง. นิพพิทาญาณ
๙. ญาณหยั่งเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณอะไร ?
ก. อุทยัพพยญาณ
ข. ภังคญาณ
ค. อาทีนวญาณ
ง. นิพพิทาญาณ
๑๐. อริยมรรคใด สงเคราะห์เข้าในจิตตวิสุทธิ ?
ก. สัมมาสังกัปปะ
ข. สัมมากัมมันตะ
ค. สัมมาสมาธิ
ง. สัมมาวาจา
๑๑. อริยมรรคใด สงเคาระห์เข้าในทิฏฐิวิสุทธิ ?
ก. สัมมาสังกัปปะ
ข. สัมมาสติ
ค. สัมมาสมาธิ
ง. สัมมาวายามะ
๑๒. วิสุทธิที่ทำให้ข้ามพ้นความสงสัย เรียกว่าอะไร ?
ก. สีลวิสุทธิ
ข. จิตตวิสุทธิ
ค. ทิฏฐิวิสุทธิ
ง. กังขาวิตรณวิสุทธิ
๑๓. กามคุณ ๕ ได้ชื่อว่าโลกามิส เพราะเหตุใด ?
ก. เป็นสิ่งสวยงาม
ข. เป็นที่นิยม
ค. เป็นสิ่งล่อใจ
ง. เป็นสิ่งจำเป็น
๑๔. วิปัสสนาญาณ มีกี่อย่าง ?
ก. ๗
ข. ๘
ค. ๙
ง. ๑๐
๑๕. วจีสุจริต จัดเข้าในมรรคใด ?
ก. สัมมาวาจา
ข. สัมมากัมมันตะ
ค. สัมมาวายามะ
ง. สัมมาสติ


{getButton} $text={สันติ ความสงบ} $color={#009933}
๑. ธรรมใด ส่งเสริมให้เกิดสันติสุข ?
ก. สุจริต
ข. บุญกิริยาวัตถุ
ค. อคติ
ง. พรหมวิหาร
๒. ข้อใด ทำให้เกิดสันติภายนอก ?
ก. ศีล
ข. สมาธิ
ค. ปัญญา
ง. เมตตา
๓. ความสงบภายนอก เกิดขึ้นทางใด ?
ก. กายและวาจา
ข. กายและใจ
ค. วาจาและใจ
ง. กาย วาจา และใจ
๔. บุคคลถูกอะไรขัดขวาง จึงไม่เกืดความสงบ ?
ก. รูปสวย
ข. เสียงไพเราะ
ค. กลิ่นหอม
ง. ถูกทุกข้อ
๕. โลกามิส ได้แก่อะไร ?
ก. กามกิเลส
ข. กามคุณ
ค. กามราคะ
ง. กามสังโยชน์


{getButton} $text={นิพพาน ความดับกิเลส} $color={#009933}
๑. ข้อใด กล่าวความหมาย สอุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ?
ก. กิเลสดับ
ข. ชีวิตดับ
ค. กิเลสดับชีวิตอยู่
ง. กิเลสอยู่ชีวิตดับ
๒. ข้อใด กล่าวความหมายของ อนุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ?
ก. สิ้นชีวิต
ข. สิ้นกิเลส
ค. สิ้นกิเลสชีพไม่สิ้น
ง. สิ้นกิเลสชีพสิ้น
๓. อาการดับแห่งอนุปาทิเสสนิพพาน เปรียบได้กับอะไร ?
ก. ไฟสิ้นเชื้อ
ข. ไฟไหม้ฟาง
ค. เชื้อไฟ
ง. ควันไฟ
๔. ข้อใด กล่าวความหมายพระนิพพานได้ถูกต้องที่สุด ?
ก. ดับโลภ
ข. ดับหลง
ค. ดับโกรธ
ง. ดับกิเลส
๕. พระพุทธดำรัสว่า "ภิกษุเธอจงหวิดเรือนี้" เรือในที่นี้หมายถึงอะไร ?
ก. วัตถุ
ข. สัตว์
ค. อัตภาพ
ง. กิเลส
๖. พระพุทธดำรัสตรัสให้หวิดเรือนั้น เพื่อให้เบาจากอะไร ?
ก. โลภ
ข. หลง
ค. โกรธ
ง. กิเลส
๗. อุปมาว่า ไฟสิ้นเชื้อแล้วย่อมดับไปเอง กล่าวถึงเรื่องใด ?
ก. ฌาน
ข. สมาบัติ
ค. นิพพาน
ง. อภิญญา
๘. คำว่า มีลูกศรอันถอนแล้ว เป็นคุณสมบัติของใคร ?
ก. พระโสดาบัน
ข. พระสกทาคามี
ค. พระอนาคามี
ง. พระอรหันต์
๙. วงจารแห่งทุกข์ใด ที่พระนิพพานดับได้เด็ดขาด ?
ก. กรรม
ข. กิเลส
ค. วิบาก
ง. ถูกทุกข้อ
๑๐. นิพพาน มีกี่อย่าง ?
ก. ๒
ข. ๔
ค. ๖
ง. ๘
๑๑. จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?
ก. ฌาน
ข. สมาบัติ
ค. นิพพาน
ง. อภิญญา