เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับมัธยมศึกษา
๑. | กาม มีโทษโดยรวมแก่สัตว์อย่างไร ? ก. ทำให้ข้องอยู่ในโลก ข. ทำให้รบราฆ่าฟันกัน ค. ทำให้เห็นแก่ตัว ง. ทำให้แข้งขันกันในโลก |
๒. | ผู้ที่ชอบเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ชื่อว่าหลงยึดติดในอะไร ? ก. กิเลสกาม ข. วัตถุกาม ค. กามตัณหา ง. ภวตัณหา |
๓. | ข้อใด ไม่ใช่กิเลสกาม ? ก. ราคะ ข. โลภะ ค. อิจฉา ง. รูป |
๔. | เสียงประเภทใด จัดเป็นวัตถุกาม ? ก. เสียงสวดมนต์ ข. เสียงเพลง ค. เสียงผรุสวาท ง. เสียงนินทา |
๕. | กิเลสอันเป็นเหตุให้ใคร เรียกว่าอะไร ? ก. กามคุณ ข. กิเลสกาม ค. วัตถุกาม ง. กามฉันทะ |
๖. | เสียงที่น่าปรารถนาน่าพอใจ เรียกว่าอะไร ? ก. กามสังโยชน์ ข. กิเลสกาม ค. วัตถุกาม ง. กามฉันทะ |
๑. | ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ จัดเข้าในสุขข้อใด ก. กายิกสุข ข. เจตสิกสุข ค. สามิสสุข ง. นิรามิสสุก |
๒. | เจตสิกสุข คือสุขทางใจมีลักษณะเช่นไร ? ก. เพราะได้ลาภลอย ข. เพราะได้รับมรดก ค. เพราะได้เลื่อนยศ ง. เพราะไม่ถูกกิเลสครอบงำ |
๓. | อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุขทางกาย ? ก. ไม่มีโรค ข. ไม่มีหนี้ ค. ไม่มีศัตรู ง. ไม่มีกิเลส |
๔. | อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุขทางใจ ? ก. อำนาจ ข. ทรัพย์ ค. บริวาร ง. คุณธรรม |
๕. | ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐจัดเป็นสุขประเภทใด ? ก. กายิกสุข ข. เจตสิกสุข ค. สามิสสุข ง. นิรามิสสุข |
๖. | ข้อใด เป็นเหตุให้เกิดเจตสิกสุข สุขทางใจ ? ก. รู้จักพอเพียง ข. มีการงานดี ค. มีทรัพย์มาก ง. มีตำแหน่งสูง |
๑. | อธิปเตตยะ มีลักษณะเช่นไร ? ก. ถือความเห็นของตน ข. ถือความเห็นพวกพ้อง ค. ถือความเห็นหมู่ญาติ ง. ถือความเห็นส่วนรวม |
๒. | การทำงานมุ่งความถูกต้อง จัดว่ามีอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธรรมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๓. | ผู้มีอัตตาธิปเตยยะ คือถืออะไรเป็นใหญ่ ? ก. ตนเอง ข. พวกพ้อง ค. หมู่ญาติ ง. บริวาร |
๔. | ทำดีตามกระแสนิยมเพื่อให้ผู้อื่นยกย่องตรงกับข้อใด ? ก. อัตตาธิปเตยยะ ข. โลกาธิปเตยยะ ค. ธัมมาธิปเตยยะ ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | ความเป็นใหญ่ใครๆ ก็ชอบ ถืออะไรเป็นใหญ่จึงจะดี ? ก. ถือตน ข. ถือเสียงข้างมาก ค. ถือประชาชน ง. ถือธรรมะ |
๖. | ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ใช้หลักอธิปไตยใด ปกครองประเทศ ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. อนาธิปไตย |
๗. | คำว่า ทำตามใจคือไทยแท้ จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๘. | ประชาธิปไตยที่แท้จริงมุ่งประโยชน์เพื่อใคร ? ก. คนร่ำรวย ข. คนยากจน ค. คนมีอำนาจ ง. ทุกๆ คน |
๑. | ผู้อยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะถูกอะไรครอบงำ ? ก. ราคะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ตัณหา |
๒. | ข้อใด จัดเป็นภวตัณหา ? ก. อยากร่ำรวย ข. อยากมีรถ ค. อยากมีโทรศัพท์ ง. อยากเป็นใหญ่ |
๓. | ความทะยานอยาก หมายถึงข้อใด ? ก. ราคะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ตัณหา |
๔. | อยากกินอาหารรสอร่อยๆ จัดเป็นตัณหาประเภทใด ? ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา ค. วิภาวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | อยากอยู่ในตำแหน่งนานๆ จัดเป็นตัณหาประเภทใด ? ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา ค. วิภาวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | ผู้ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ เพราะถูกไฟอะไรแผดเผา ? ก. ราคะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ตัณหา |
๒. | เมื่อไฟ คือโทสะเกิดขึ้น จะระงับด้วยวิธีใด ? ก. เจริญเมตตา ข. เจริญอสุภะ ค. เจริญปัญญา ง. เจริญอนุสสติ |
๓. | รูปสวยเสียงไพเราะ ก่อให้เกิดไฟกิเลสประเภทใด ? ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ ค. ไฟโมหะ ง. ไฟริษยา |
๔. | คนที่ถูกไฟโทสะแผดเผา มักมีอาการเช่นไร ? ก. โกรธง่าย ข. หงุดหงิดง่าย ค. อารมณ์ร้อน ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | คนที่ไม่รุ้จักบุญคุณพ่อแม่ เพราะถูกไฟกิเลสชนิดใดแผดเผา ? ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ ค. ไฟโมหะ ง. ไฟตัณหา |
๑. | การเวียนว่ายตายเกิด มีอะไรเป็นสาเหตุ ? ก. กิเลส กรรม วิบาก ข. ราคะ โทสะ โมหะ ค. กุศล อกุศล ง. ทาน ศีล ภาวนา |
๒. | ในเรื่องวัฏฏะ ข้อใดจัดเป็นวิบาก ? ก. กรรม ข. ขอขมากรรม ค. ทำกรรม ง. รับกรรม |
๓. | การเวียนว่ายตายเกิด หมายถึงข้อใด ? ก. วัฏฏะ ข. จุติ ค. ปฏิสนธิ ง. อุบัติ |
๔. | พระอริยบุคคลใด ตัดการเวียนว่ายตายเกิดได้ ? ก. พระโสดาบันิ ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์ |
๕. | อะไร เป็นเหตุให้ทำกรรม ? ก. กิเลส ข. กรรม ค. วิบาก ง. ตัณหา |
๑. | คำว่า สัจจญาณ หมายถึงหยั่งรู้อะไร ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. อริยสัจ |
๒. | ข้อใด เป็นกิจจญาณในอริยสัจ ๔ ? ก. รู้ความจริง ข. รู้สิ่งที่ควรทำ ค. รู้สิ่งที่ทำแล้ว ง. รู้อนาคต |
๓. | ญาณ ๓ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. สมาธิชั้นสูง ข. การบรรลุธรรม ค. ปัญญาหยั่งรู้ ง. อิทธิฤทธิ์ |
๑. | อปัสเสนธรรมข้อพิจารณาแล้วอดกลั้น ควรใช้เมื่อใด ? ก. ถูกทุกขเวทนาครอบงำ ข. ถูกกิเลสครอบงำ ค. ถูกความเสื่อมครอบงำ ง. ถูกพยาบาทครอบงำ |
๒. | อปัสเสนธรรมข้อว่า พิจารณาแล้วเว้น ตรงกับข้อใด ? ก. ทุกขเวทนา ข. บัณฑิต ค. ยารักษาโรค ง. คนพาล |
๓. | ถูกเพื่อด่า ควรใช้อปัสเสนธรรมข้อใด ? ก. รับรู้ ข. อดกลั้น ค. เว้น ง. บรรเทา |
๔. | ในอปัสเสนธรรม เมื่อพิจารณาแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ? ก. อดกลั้น ข. เว้น ค. บรรเทา ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | ข้อใด ไม่ใช่วิธีปฏิบัติในอปัสเสนธรรม ? ก. อดกลั้น ข. รู้แจ้ง ค. บรรเทา ง. เสพ |
๑. | การภาวนาข้อใด จัดเป็นอัปปมัญญา ? ก. ไม่เจาะจง ข. เจาะจงบุคคล ค. เจาะจงสัตว์ ง. เจาะจงตนเอง |
๒. | ยินดีเมื่อเพื่อนสอบได้ จัดว่ามีอัปปมัญญาข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๓. | ข้อใด จัดเป็นข้าศึกของเมตตา ? ก. ความรัก ข. ความโลภ ค. ความหลง ง. ความพยาบาท |
๔. | วิธีแผ่เมตตาที่ถูกต้อง ควรเริ่มที่ใคร ? ก. ตนเอง ข. มิตร ค. ศัตรู ง. สรรพสัตว์ |
๕. | ขอให้สรรพสัตว์พ้นจากทุกข์เถิด เป็นการเจริญอัปปมัญญาใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๖. | สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นการเจริญอัปปมัญญาใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๑. | อกุศลธรรมที่ครอบงำจิตไม่ให้ก้าวขึ้นสู่ธรรมชั้นสูงขึ้นไปตรงกับข้อใด ? ก. มัจฉริยะ ข. นิวรณ์ ค. ตัณหา ง. มาร |
๒. | รูป เสียง กลิ่น รส ที่น่าชอบใจ ก่อให้เกิดนิวรณ์ใด ? ก. กามฉันทะ ข. พยาบาท ค. ถีนมิทธะ ง. วิจิกิจฉา |
๓. | ความเป็นโรคซึมเศร้า เพราะจิตถูกนิวรณ์ใดครอบงำ ? ก. พยาบาท ข. ถีนมิทธะ ค. อุทธัจจกุกกุจจะ ง. วิจิกิจฉา |
๔. | คนที่มีความสงสัยในเรื่องบาปบุญ เพราะจิตถูกนิวรณ์ใดครอบงำ ? ก. กามฉันทะ ข. พยาบาท ค. ถีนมิทธะ ง. วิจิกิจฉา |
๑. | ความตระหนี่อะไร จัดเป็นธัมมมัจฉริยะ ? ก. ความดี ข. ความรู้ ค. ที่อยู่ ง. ตระกูล |
๒. | ความตระหนี่อะไร จัดเป็นวัณณมัจฉริยะ ? ก. ความดี ข. ความรู้ ค. ที่อยู่ ง. ตระกูล |
๓. | ข้อใด จัดเป็นความหมายของอาวาสมัจฉริยะ ? ก. หวงที่อยู่อาศัย ข. หวงเงินทอง ค. หวงวิชาความรู้ ง. หวงวงศ์สกุล |
๔. | อาวาสมัจฉริยะ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. หวงที่อยู่ ข. หวงสกุล ค. หวงลาภ ง. หวงวรรณะ |
๕. | คนที่ไม่ถือชาติชั้นวรรณะ แสดงว่าไม่มีมัจฉริยะใด ? ก. กุลมัจฉริยะ ข. ลาภมัจฉริยะ ค. วัณณมัจฉริยะ ง. ธัมมมัจฉริยะ |
๖. | คนที่กลัวคนอื่นจะได้ดีกว่า ชื่อว่ามีความตระหนี่ในเรื่องอะไร ? ก. ตระกูล ข. ที่อยู่ ค. วรรณะ ง. ลาภ |
๗. | ธัมมมัจฉริยะ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. หวงวิชา ข. หวงสกุล ค. หวงลาภ ง. หวงวรรณะ |
๑. | อุเบกขาในเวทนา ๕ หมายถึงวางเฉยในสิ่งใด ? ก. หมู่สัตว์ ข. ความดี ค. การงาน ง. สุขทุกข์ |
๒. | เวทนาเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยอะไร ? ก. สัมผัส ข. กิเลส ค. กรรม ง. ตัณหา |
๓. | ข้อใด กล่าวความหมายของเวทนาได้ชัดเจนที่สุด ? ก. ความรู้สึก ข. ความเจ็บปวด ค. ความสงสาร ง. ความเห็นใจ |
๔. | ความสบายใจ มีความหมายตรงกับเวทนาใด ? ก. สุขเวทนา ข. ทุกขเวทนา ค. โสมนัสเวทนา ง. อุเบกขาเวทนา |
๕. | อาการที่ไม่ดีใจเสียใจ มีความหมายตรงกับเวทนาใด ? ก. สุขเวทนา ข. ทุกขเวทนา ค. โสมนัสเวทนา ง. อุเบกขาเวทนา |
๖. | ความสบายกาย มีความหมายตรงกับเวทนาใด ? ก. สุขเวทนา ข. ทุกขเวทนา ค. โสมนัสเวทนา ง. อุเบกขาเวทนา |
๑. | คนโทสะจริต มีลักษณะเช่นใด ? ก. รักสวยรักงาม ข. โกรธง่าย ค. หลงงมงาย ง. เชื่อง่าย |
๒. | คนโทสจริต ควรแก้ด้วยกัมมัฏฐานใด ? ก. เมตตา ข. อสุภะ ค. อนุสสติ ง. อานาปานสติ |
๓. | คนสัทธาจริต มีลักษณะเช่นใด ? ก. เชื่อง่าย ข. โกรธง่าย ค. เขลางมงาย ง. รักสวยรักงาม |
๔. | คนราคจริต มีลักษณะอย่างไร ? ก. อวดดี ข. ชอบโอ้อวด ค. ข่มคนอื่น ง. โมโหร้าย |
๕. | คำว่า จริต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร ? ก. วิตก ข. จริยา ค. วิจาร ง. วิพากย์ |
๖. | จริตของมนุษย์ในโลกนี้ แบ่งได้เป็นกี่ประเภท ? ก. ๒ ประเภท ข. ๔ ประเภท ค. ๖ ประเภท ง. ๘ ประเภท |
๗. | คนที่เชื่อง่ายไร้เหตุผล เป็นคนจริตใด ? ก. โทสจริต ข. วิตักกจริต ค. สัทธาจริต ง. พุทธิจริต |
๘. | คนที่เชื้อง่ายไร้เหตุผล แก้ด้วยการเจริญกัมมัฏฐานใด ? ก. อสุภกัมมัฏฐาน ข. เมตตา ค. มรณัสสติ ง. อนุสสติ |
๙. | คนมีความรู้ชอบใช้เหตุผล เป็นลักษณะของคนจริตใด ? ก. วิตักกจริต ข. โทสจริต ค. สัทธาจริต ง. พุทธิจริต |
๑. | อปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมส่งเสริมประเทศชาติในเรื่องใด ? ก. ความสามัคคี ข. ความมั่นคง ค. ความทันสมัย ง. ความร่ำรวย |
๒. | ข้อใด เป็นหลักอปริหานิยธรรม ? ก. หมั่นประชุม ข. เคารพผู้ใหญ่ ค. ไม่บังคับสตรี ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | สังฆคุณว่า สามีจิปฏิปนฺโน ตรงกับข้อใด ? ก. ปฏิบัติดี ข. ปฏิบัติถูกทาง ค. ปฏิบัติตรง ง. ปฏิบัติสมควร |
๒. | ผู้ควรรับของทำบุญ ตรงกับสังฆคุณข้อใด ? ก. อาหุเนยฺโย ข. ปาหุเนยฺโย ค. ทกฺขิเณยฺโย ง. อญฺชลิกรณีโย |
๓. | สังฆคุณว่า ญายปฏิปนฺโน ตรงกับข้อใด ? ก. ปฏิบัติดี ข. ปฏิบัติตรง ค. ปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง ง. ปฏิบัติสมควร |
๔. | เป็นผู้ควรของทำบุญ ตรงกับสังฆคุณข้อใด ? ก. อาหุเนยฺโย ข. ปาหุเนยฺโย ค. ทกฺขิเณยฺโย ง. อญฺชลิกรณีโย |
๕. | พระสงฆ์ในสังฆคุณ ๙ หมายถึงพระสงฆ์ในข้อใด ? ก. สมมติสงฆ์ ข. อริยสงฆ์ ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์ |
๖. | สังฆคุณบทว่า สุปฏิปนฺโน มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ปฏิบัติดี ข. ปฏิบัติตรง ค. ปฏิบัติเป็นธรรม ง. ปฏิบัติสมควร |
๗. | พระสงฆืปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลก ? ก. ปฏิบัติดี ข. ปฏิบัติตรง ค. ปฏิบัติเป็นธรรม ง. ถูกทุกข้อ |
๘. | สังฆคุณบทว่า ทกฺขิเณยฺโย มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ควรคำนับ ข. ควรต้อนรับ ค. ควรของทำบุญ ง. ควรกราบไหว้ |
๑. | บารมีในทางพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ? ก. อำนาจวาสนา ข. โชคลาภ ค. บุญญาธิการ ง. คุณธรรมอันยวดยิ่ง |
๒. | ตั้งใจงดเหล้าเข้าพรรษา ชื่อว่าบำเพ็ญบารมีใด ? ก. ขันติบารมี ข. ศีลบารมี ค. วิริยบารมี ง. อธิษฐานบารมี |
๓. | พระเวสสันดร บำเพ็ญบารมีใดเป็นพิเศษ ? ก. ทานบารมี ข. ศีลบารมี ค. เนกขัมมบารมี ง. เมตตาบารมี |
๔. | บริจาคไตให้โรงพยาบาล จัดเป็นบารมีใด ? ก. ทานบารมี ข. ทานอุปบารมี ค. ทานปรมัตถบารมี ง. มหาบารมี |
๕. | การศึกษาธรรมให้เกิดความรู้ จัดว่าบำเพ็ญบารมีใด ? ก. ปัญญาบารมี ข. วิริยบารมี ค. ขันติบารมี ง. สัจจบารมี |
๖. | ในพระพุทธศาสนา คนมีบารมี หมายถึงใคร ? ก. คนมีอำาจ ข. คนมีวาสนา ค. คนมีบริวาร ง. คนมีคุณธรรมสูง |
๗. | ในบารมี ๑๐ บารมีใดเป็นข้อแรก ? ก. ศีล ข. เนกขัมม์ ค. ปัญญา ง. ทาน |
๘. | ในบารมี ๑๐ พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญบารมีใด ? ก. ทาน ข. วิริยะ ค. ขันติ ง. สัจจะ |
๙. | คนที่ตั้งใจแน่วแน่ จะไม่เสพสิ่งเสพย์ติด ชื่อว่าบำเพ็ญบารมีใด ? ก. ศีล ข. ขันติ ค. อธิษฐาน ง. อุเบกขา |