เก็งข้อสอบวิชาเบญจศีลเบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับอุดมศึกษาศึกษา
๑. | ในหนังสือเบญจศีล กล่าวว่าอะไรเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการทำความดี ? ก. ศีล ข. ทาน ค. สมาธิ ง. ปัญญา |
๒. | หลักปฏิบัติเบื้องต้นแห่งการทำความดี ได้แก่ข้อใด ? ก. รักษาศีล ข. เจริญสมาธิ ค. อบรมปัญญา ง. เจริญภาวนา |
๓. | การรักษาศีล เป็นการปฏิบัติตนตามข้อใด ? ก. ข้อห้าม ข. กฎเกณฑ์ ค. ระเบียบ ง. ข้อบังคับ |
๔. | เครื่องป้องกันความชั่วทางกายวาจา คือข้อใด ? ก. ศีล ข. สมาธิ ค. ปัญญา ง. ภาวนา |
๕. | บุคคลควรมีสิ่งใดเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ? ก. ทาน ข. ศีล ค. สมาธิ ง. ภาวนา |
๖. | วัตถุประสงค์ของการบัญญัติศีล คืออะไร ? ก. ทำใจให้สงบ ข. ละกิเลส ค. ฝึกกายวาจา ง. ดับทุกข์ |
๑. | ข้อใด เป็นหลักปฏิบัติคู่กับเบญจธรรม ? ก. ขันธ์ ๕ ข. อินทรีย์ ๕ ค. พละ ๕ ง. ศีล ๕ |
๒. | ศีล ที่แปลว่า ปกติ มุ่งถึงศีลประเภทใด ? ก. ศีล ๕ ข. ศีล ๘ ค. ศีล ๑๐ ง. ศีล ๒๒๗ |
๓. | ศีล ๕ เป็นข้อปฏิบัติให้มนุษย์มีความสะอาดในด้านใด ? ก. กายกับใจ ข. วาจากับใจ ค. กายวาจาใจ ง. กายกับวาจา |
๔. | ศีลข้อ ๑ มุ่งส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติมีคุณธรรมใด ? ก. เมตตา กรุณา ข. สัมมาอาชีวะ ค. สัจจะ ง. สติ |
๕. | ความรู้สึกหวงแหนชีวิตจะเกิดขึ้นได้ เพราะรักษาศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔ |
๖. | การฆ่า หมายถึงการกระทำในข้อใด ? ก. ทำให้บาดเจ็บ ข. ทำให้พิการ ค. ทำให้ลำบาก ง. ทำให้ตาย |
๗. | ข้อใดอนุโลมเข้าในการทำปาณาติบาต ? ก. ทำร้ายจิตใจ ข. ทำร้ายร่างกาย ค. ทำลายทรัพย์สิน ง. ทำลายชื่อเสียง |
๘. | ข้อใดจัดเข้าในลักษณะแห่งปาณาติบาต ? ก. ฆ่า ข. ทำร้ายร่างกาย ค. ทรกรรม ง. ถูกทุกข้อ |
๙. | คำว่า ทรกรรม ได้แก่ การประพฤติเหี้ยมโหดแก่ใคร ? ก. เด็ก ข. สตรี ค. คนชรา ง. สัตว์ |
๑๐. | ทรกรรมสัตว์ให้ได้รับความลำบาก ตรงกับข้อใด ? ก. ใช้งานเกินกำลัง ข. กักขังในที่แคบ ค. เล่นสนุก ง. ถูกทุกข้อ |
๑๑. | ยิงนกตกปลาล่าสัตว์เพื่อความสำราญ จัดเข้าในทรกรรมข้อใด ? ก. ใช้การ ข. ผจญสัตว์ ค. นำไป ง. เล่นสนุก |
๑๒. | ข้อใดไม่จัดเป็นการผจญสัตว์ ? ก. ชนโค ข. กัดปลา ค. ตีไก่ ง. ขว้างนก |
๑๓. | คำว่า ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป หมายถึงอย่างไร ? ก. บาดเจ็บ ข. พิการ ค. ลำบาก ง. ตาย |
๑๔. | คนที่มีอายุสั้น เพราะผิดศีลข้อใด ? ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน ค. กาเมสุมิจฉาจาร ง. มุสาวาท |
๑. | ศีลข้อ ๒ บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดเรื่องใด ? ก. ชีวิต ข. ทรัพย์สิน ค. ร่างกาย ง. จิตใจ |
๒. | การสลับของดีไว้กับตน ให้ของไม่ดีแก่คนอื่น เรียกว่าอะไร ? ก. กรรโชก ข. สับเปลี่ยน ค. เบียดบัง ง. ตระบัด |
๓. | ข้อใด จัดเข้าในการทำอนุโจรกรรม ? ก. ลัก ข. ปล้น ค. ฉก ง. รับสินบน |
๔. | พูดปดให้โอนเงิน จัดเข้าในโจรกรรมข้อใด ? ก. ขู่กรรโชก ข. ฉ้อโกง ค. หลอก ง. ล่อลวง |
๕. | ขายสินค้าเลียนแบบ จัดเข้าในโจรกรรมข้อใด ? ก. ปลอม ข. ฉ้อโกง ค. หลอก ง. ล่อลวง |
๖. | กู้เงินไปไม่ยอมใช้คืน จัดเข้าในโจรกรรมข้อใด ? ก. ลัก ข. ฉ้อ ค. หลอก ง. ล่อลวง |
๗. | ข้อใดจัดเป็นโจรกรรม ? ก. ปล้น ข. ผลาญ ค. รับสินบน ง. หยิบฉวย |
๘. | ใช้เอกสารเท็จ จัดเป็นโจรกรรมใด ? ก. ตระบัด ข. ปลอม ค. ลวง ง. หลอก |
๙. | ขู่เอาทรัพย์หรือตบทรัพย์ผู้อื่น เป็นโจรกรรมประเภทใด ? ก. ลัก ข. ฉก ค. กรรโชก ง. ปล้น |
๑๐. | แอบนำเข้าสินค้าโดยไม่เสียภาษีให้รัฐ เป็นโจรกรรมประเภทใด ? ก. เบียดบัง ข. สับเปลี่ยน ค. ลักลอบ ง. ยักยอก |
๑๑. | คดในข้อ งอในกระดูก มีความหมายตรงกับศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔ |
๑๒. | การละเมิดศีลข้ออทินนาทาน ส่งผลอย่างไร ? ก. อายุสั้น ข. ยากจน ค. พิการ ง. บ้า |
๑๓. | การรักษาศีลข้อที่ ๒ มีประโยชน์อย่างไร ? ก. มีเมตตา ข. มีอาชีพสุจริต ค. ครอบครัวอบอุ่น ง. มีความจริงใจ |
๑. | ศีลข้อที่ ๓ ห้ามประพฤติทุจริตทางใด ? ก. ทางกาย ข. ทางวาจา ค. ทางใจ ง. ทางกายวาจา |
๒. | ศีลข้อที่ ๓ ต้องการให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนเช่นไร ? ก. พูดความจริง ข. ไม่นอกใจคู่ครอง ค. มีเมตตา ง. ทำงานสุจริต |
๓. | การประพฤติผิดประเวณี เป็นการล่วงละเมิดศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔ |
๔. | ศีลข้อที่ ๓ เป็นประโยชน์โดยตรงแก่สถาบันใด ? ก. ครอบครัว ข. การศึกษา ค. การเงิน ง. การเมือง |
๕. | การรักษาศีลข้อที่ ๓ ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ? ก. อาชญากรรม ข. คนว่างงาน ค. ละเมิดทางเพศ ง. ยาเสพติด |
๖. | สามีภรรยาที่รักและซื่อตรงต่อกัน เพราะศีลข้อใด ? ก. ปาณาติปาตา เวรมณี ข. อทินนาทานา เวรมณี ค. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี ง. มุสาวาทา เวรมณี |
๗. | หญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของบิดามารดา ตรงกับข้อใด ? ก. ลูกสาว ข. ลูกสะใภ้ ค. หลานสาว ง. หลานสะใภ้ |
๘. | ปัญหาสังคมข้อใด เกิดเพราะละเมิดศีลข้อที่ ๓ ? ก. หย่าร้าง ข. อาชญากรรม ค. ลักขโมย ง. ทำร้ายร่างกาย |
๑. | ข้อใด เป็นความผิดที่นับเข้าในมุสาวาท ? ก. โวหาร ข. สำคัญผิด ค. พลั้ง ง. คืนคำ |
๒. | มุสาวาท แสดงออกได้ทางใดบ้าง ? ก. กาย ข. วาจา ค. ใจ ง. กาย วาจา |
๓. | รู้แต่สั่นศีรษะว่าไม่รู้ เป็นความเท็จเกิดขึ้นทางใด ? ก. กาย ข. วาจา ค. ใจ ง. ถูกทุกข้อ |
๔. | คำพูดเช่นใด ทำให้แตกความสามัคคี ? ก. ส่อเสียด ข. หลอก ค. สับปลับ ง. กลับคำ |
๕. | มุสาวาทประเภทเสริมความ ตรงกับข้อใด ? ก. พูดให้แตกกัน ข. พูดกลับคำ ค. พูดเกินจริง ง. พูดเล่นสำนวน |
๖. | พูดเพื่อทำลายประโยชน์คนอื่น ผิดศีลข้อใด ? ก. ข้อที่ ๒ ข. ข้อที่ ๓ ค. ข้อที่ ๔ ง. ข้อที่ ๕ |
๗. | คำพูดประเภทใด ตรงกับคำว่า ประจบสอพลอ ? ก. พูดเห็นแก่ได้ ข. พูดยกย่อง ค. พูดหลีกเลี่ยง ง. พูดให้แตกแยก |
๘. | ป่วยน้อยแกล้งเป็นป่วยมาก เป็นมุสาประเภทใด ? ก. ปด ข. ทนสาบาน ค. มารยา ง. ทำเลศ |
๙. | มุสาวาททางกาย มีลักษณะตรงกับข้อใด ? ก. เล่าความเท็จ ข. ทำเอกสารเท็จ ค. แจ้งความเท็จ ง. ให้การเท็จ |
๑๐. | ข้อใด จัดเป็นอนุโลมมุสา ? ก. สับปลับ ข. ทำเลศ ค. เพ้อเจ้อ ง. พลั้ง |
๑๑. | รับคำท่านแล้วภายหลังไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่าอะไร ? ก. ผิดสัญญา ข. คืนคำ ค. เสียสัตย์ ง. โวหาร |
๑๒. | ผู้มีปกติไม่พูดมุสา ย่อมได้รับผลเช่นใด ? ก. น่าเชื่อถือ ข. อายุยืน ค. สุขภาพดี ง. ไม่หลงลืม |
๑. | ปัญหายาเสพติด สะท้อนว่าสังคมไม่รักษาศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๕ |
๒. | สุรา ยาบ้า ยาไอซ์เป็นวัตถุต้องห้ามของศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๒ ข. ข้อ ๓ ค. ข้อ ๔ ง. ข้อ ๕ |
๓. | ศีลข้อ ๕ สอนให้งดเว้นเรื่องใด ? ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์ ค. พูดเท็จ ง. ยาเสพติด |
๔. | โครงการเมาไม่ขับ สนับสนุนให้งดเว้นเรื่องใด ? ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์ ค. พูดเท็จ ง. ดื่มสุรา |
๕. | ข้อใด เป็นโทษของการดื่มสุรา ? ก. โหดร้าย ข. มือไว ค. ใจเร็ว ง. เกิดโรค |
๖. | ข้อใด เป็นโทษเกิดจากการดื่มสุราเมรัย ? ก. อายุสั้น ข. ยากจน ค. เสียสัตย์ ง. เสียสติ |
๗. | ข้อใด เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับศีลข้อที่ ๕ ? ก. ห้ามฆ่าสัตว์ในวัด ข. ห้ามดื่มสุราในวัด ค. ห้ามขายอาวุธในวัด ง. ห้ามเล่นพนันในวัด |
๘. | ข้อใด เป็นความเสียหายเกิดจากการเสพของมึนเมา ? ก. ทำลายข้าวของ ข. ทุบตีผู้อื่น ค. ทะเลาะวิวาท ง. ถูกทุกข้อ |
๙. | ดื่มสุราเป็นเหตุให้เกิดโทษแก่ตนและผู้อื่น เพราะเหตุใด ? ก. ประพฤติน่าอดสู ข. ทอนกำลังปัญญา ค. ก่อการวิวาท ง. เสียสุขภาพ |
๑๐. | หากไม่รักษาศีลข้อที่ ๕ จะเกิดปัญหาสังคมด้านใด ? ก. ติดการพนัน ข. อาชญากรรม ค. ยาเสพติด ง. ทุจริตคอรัปชั่น |
๑๑. | การรักษาศีลข้อที่ ๕ ให้สมบูรณ์ ควรหลีกเลี่ยงอะไร ? ก. ของผิดกฎหมาย ข. ของคนอื่น ค. คู่ครองคนอื่น ง. ของมึนเมา |
๑๒. | การทำผิดศีลข้อที่ ๕ ทำให้บกพร่องในคุณธรรมใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. สัจจะ ง. สติสัมปชัญญะ |
๑๓. | การตั้งใจงดเว้นจากข้อห้าม เรียกว่าอะไร ? ก. ศีล ข. วิรัติ ค. ปฏิบัติ ง. พฤติกรรม |
๑๔. | พระอริยบุคคลเว้นจากการประพฤติผิดศีลได้เด็ดขาด เป็นวิรัติใด ? ก. สัมปัตตวิรัติ ข. สมาทานวิรัติ ค. สมุจเฉทวิรัติ ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | เจตนางดเว้นจากข้อห้าม อันเรียกว่า วิรัติ มีกี่อย่าง ? ก. ๑ อย่าง ข. ๒ อย่าง ค. ๓ อย่าง ง. ๔ อย่าง |
๒. | สัมปัตตวิรัติ เป็นการงดเว้นจากการประพฤติผิดศีลของใคร ? ก. คนทั่วไป ข. คนสมาทานศีล ค. อริยบุคคล ง. ถูกทุกข้อ |
๓. | หัวขโมยยังไม่สบโอกาสจึงไม่ขโมย ตรงกับข้อใด ? ก. สัมปัตตวิรัติ ข. สมาทานวิรัติ ค. สมุจเฉทวิรัติ ง. ไม่เป็นวิรัติ |
๔. | การรับศีลจากพระสงฆ์ จัดเข้าในวิรัติใด ? ก. สมาทานวิรัติ ข. สัมปัตตวิรัติ ค. สมุจเฉทวิรัติ ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | หลักธรรมสำหรับประพฤติควบคู่กับศีล ๕ เรียกว่าอะไร ? ก. กัลยาณธรรม ข. โลกธรรม ค. มนุษยธรรม ง. อริยธรรม |
๒. | เบญจธรรมมีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ธรรม ๕ อย่าง ข. ธรรมสำหรับคนดี ค. สัมมาอาชีวะ ง. ธรรมสำหรับ ๕ คน |
๓. | ข้อใดไม่จัดเข้าในเบญจธรรม ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริโอตตัปปะ ค. สัมมาอาชีวะ ง. เมตตากรุณา |
๔. | เบญจธรรมข้อที่ ๑ ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมเช่นใด ? ก. เมตตาต่อกัน ข. รักษาศีลได้มั่นคง ค. ซื่อตรงต่อกัน ง. มีสติรอบคอบ |
๕. | รู้จักช่วยเหลือกันยามตกทุกข์ได้ยาก เป็นเบญจธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. สัมมาอาชีวะ ง. ความมีสัตย์ |
๖. | การบริจาคเงินช่วยผู้ประสบอุทกภัย ชื่อว่ามีกัลยาณธรรมใด ? ก ความมีเมตตา ข. ความมีกรุณา ค. ความมีสัตย์ ง. มีสติรอบคอบ |
๗. | คนไม่ฆ่าสัตว์ แต่ปราศจากความสงสาร ตรงกับข้อใด ? ก. มีศีลธรรม ข. มีศีลแต่ขาดธรรม ค. ขาดศีลแต่มีธรรม ง. ขาดศีลธรรม |
๘. | เบญจธรรมข้อ ๑ สนับสนุนการแก้ปัญหาสังคมด้านใด ? ก. อาชญากรรม ข. โจรกรรม ค. ทุจริตคอรัปชั่น ง. ยาเสพติด |
๙. | เบญจธรรมข้อใด ทำให้มนุษย์ไม่เบียดเบียนต่อกัน ? ก. เมตตา กรุณา ข. สัมมาอาชีวะ ค. วาจาสัตย์ ง. สติรอบคอบ |
๑๐. | กัลยาณธรรมข้อใด ทำให้มนุษย์เอื้อเฟื้อกันทั้งในยามสุขยามทุกข์ ? ก. เมตตากรุณา ข. สัมมาอาชีวะ ค. ความภักดี ง. มีสติรอบคอบ |
๑. | สัมมาอาชีวะ ในเบญจธรรมข้อที่ ๒ หมายถึงข้อใด ? ก. เลี้ยงชีพชอบ ข. ตั้งใจชอบ ค. เจรจาชอบ ง. ดำริชอบ |
๒. | การแสวงหาทรัพย์โดยสุจริต เป็นเบญจธรรมข้อใด ? ก. สัมมาอาชีวะ ข. ความมีสัตย์ ค. ความมีสติ ง. ความมีเมตตา |
๓. | นายจ้างจ่ายค่าแรงลูกจ้างตามสัญญา ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในข้อใด ? ก. กิจการ ข. บุคคล ค. วัตถุ ง. ถูกทุกข้อ |
๔. | ลูกจ้างเข้าทำงานตรงเวลา ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในข้อใด ? ก. กิจการ ข. บุคคล ค. วัตถุ ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | การทุจริตคอรัปชั่นงบประมาณแผ่นดิน ขาดเบญจธรรมใด ? ก. สัมมาอาชีวะ ข. ความมีสติ ค. ความมีกรุณา ง. ความมีสัตย์ |
๖. | คนไม่ดื่มสุราแต่จำหน่ายสุราหนีภาษี ขาดเบญจธรรมใด ? ก. ความเที่ยงธรรม ข. สัมมาอาชีวะ ค. ความมีสติ ง. ความมีสัตย์ |
๗. | การลักลอบผลิตสินค้าเลียนแบบ ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในข้อใด ? ก. กิจการ ข. บุคคล ค. วัตถุ ง. ถูกทุกข้อ |
๘. | โครงการพระราชดำริใด สอดคล้องกับเบญจธรรมข้อที่ ๒ ? ก. แก้มลิง ข. แกล้งดิน ค. ฝนหลวง ง. เศรษฐกิจพอเพียง |
๑. | เบญจธรรมข้อใด ทำให้ผู้ประพฤติไม่นอกใจคู่ครอง ? ก. สัมมาอาชีวะ ข. สำรวมในกาม ค. ความมีสัตย์ ง. ความมีสติ |
๒. | การประพฤติกัลยาณธรรมข้อ ๓ เกิดประโยชน์แก่ผู้ครองเรือนอย่างไร ? ก. ช่วยเหลือกัน ข. ไว้วางใจกัน ค. กตัญญูต่อกัน ง. ภักดีต่อกัน |
๓. | เบญจธรรมข้อ ๓ เป็นหลักปฏิบัติระหว่างใครกับใคร ? ก. ลูก-พ่อแม่ ข. ศิษย์-อาจารย์ ค. สามี-ภรรยา ง. นาย-บ่าว |
๔. | ผู้ประพฤติตามเบญจธรรมข้อ ๓ ย่อมได้รับผลเช่นไร ? ก. ตั้งใจเรียน ข. เคารพพ่อแม่ ค. เชื่อฟังครู ง. ไม่เป็นคนเจ้าชู้ |
๕. | ข้อใดเป็นโทษของการไม่สำรวมในกาม ? ก. เสียทรัพย์ ข. เสียงาน ค. เสียคำพูด ง. ถูกทุกข้อ |
๖. | ปัญหาหย่าร้างในสังคม เพราะขาดเบญจธรรมใด ? ก. เมตตากรุณา ข. สัมมาอาชีวะ ค. สำรวมในกาม ง. ความมีสติ |
๗. | สามีไม่นอกใจภรรยาครองคู่อยู่จนแก่เฒ่า ตรงกับข้อใด ? ก. สทารสันโดษ ข. ปติวัตร ค. สำรวมในกาม ง. ถูกทุกข้อ |
๘. | สามีไม่นอกใจภรรยา เป็นการประพฤติกัลยาณธรรมข้อใด ? ก. สัมมาอาชีวะ ข. กามสังวร ค. ความซื่อตรง ง. ความไม่ประมาท |
๙. | ภรรยาตั้งใจปรนนิบัติสามี ไม่บกพร่องในหน้าที่ ตรงกับข้อใด ? ก. สทารสันโดษ ข. ปติวัตร ค. สำรวมในกาม ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | การประพฤติตนเป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง เป็นเบญจธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ข. สำรวมในกาม ค. ความมีสัตย์ ง. ความมีสติ |
๒. | เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ เป็นความมีสัตย์ข้อใด ? ก. สวามิภักดิ์ ข. ซื่อตรง ค. เที่ยงธรรม ง. กตัญญู |
๓. | ความเที่ยงธรรมในเบญจธรรมข้อ ๔ ตรงกับข้อใด ? ก. ตรงต่อหน้าที่ ข. ซื่อตรงต่อมิตร ค. ภักดีต่อนาย ง. รู้คุณท่าน |
๔. | หลักธรรมที่ควรใช้ในการตัดสินคดี ตรงกับความมีสัตย์ข้อใด ? ก. ความเที่ยงธรรม ข. ความซื่อตรง ค. ความสวามิภักดิ์ ง. ความกตัญญู |
๕. | การให้ยศศักดิ์ด้วยความยุติธรรม ปราศจากอคติ ตรงกับความมีสัตย์ข้อใด ? ก. ความเที่ยงธรรม ข. ความซื่อตรง ค. ความกตัญญู ง. สวามิภักดิ์ |
๖. | ตั้งใจรับราชการโดยสุจริตไม่เสียดายชีวิต ตรงกับความมีสัตย์ข้อใด ? ก. ความเที่ยงธรรม ข. ความซื่อตรง ค. ความกตัญญู ง. สวามิภักดิ์ |
๗. | ความมีสัตย์ สนับสนุนการรักษาศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๔ ง. ข้อ ๕ |
๑. | ข้อใด เป็นคุณพิเศษประดับผู้มีศีลข้อที่ ๕ ? ก. รู้จักใช้จ่าย ข. ไม่เลินเล่อในการงาน ค. มีสติรอบคอบ ง. ถูกทุกข้อ |
๒. | ความมีสติรอบคอบ ควรประพฤติคู่กับศีลข้อใด ? ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๕ |
๓. | ข้อใด ชื่อว่าไม่ประมาทเลินเล่อในการทำงาน ? ก. ขยันขวนขวาย ข. ไม่ทอดธุระ ค. มีความรับผิดชอบ ง. ถูกทุกข้อ |
๔. | จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ต้องรักษาศีล ๕ คู่กับหลักธรรมใด ? ก. ทาน ข. ภาวนา ค. ปัญญา ง. เบญจธรรม |
๕. | สติสัมปชัญญะมีประโยชน์กับใครมากที่สุด ? ก. นักเรียน ข. ทหาร ค. พระสงฆ์ ง. ทุกคน |
๖. | การดื่มสุรา เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อคุณธรรมใด ? ก. เมตตา ข. สัมมาชีพ ค. มีสัตย์ ง. สติรอบคอบ |
๗. | ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใส มีความรอบคอบในเรื่องใด ? ก. การบริโภค ข. การศึกษา ค. การทำงาน ง. การปฏิบัติธรรม |
๘. | การใช้จ่ายแต่พอเพียง ตามกำลังทรัพย์ของตน มีความรอบคอบในเรื่องใด ? ก. การบริโภค ข. การศึกษา ค. การทำงาน ง. การปฏิบัติธรรม |
๙. | ข้อใด ทำให้คนเราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ? ก. ศีลธรรม ข. ทรัพย์สมบัติ ค. ยศศักดิ์ ง. ชาติตระกูล |
๑๐. | ข้อใด เป็นประโยชน์ของเบญจศีลเบญจธรรม ? ก. ไม่เดือดร้อน ข. ไม่นอนเป็นทุกข์ ค. มีแต่ความสุขใจ ง. ถูกทุกข้อ |