วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ "บุคคลควรพูดให้ไพเราะ" | กระทู้ธรรมชั้นตรี ระดับประถม | สุภาษิตที่ ๕

<h1>วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ บุคคลควรพูดให้ไพเราะ, ควรเปล่งวาจางาม,A person should speak pleasantly</h1>

อ่านบาลีว่า:
วา-จัง, มุน-ไจ-ยะ, กัน-ละ-ยา-นิง


ตัวอย่างแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี

วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ บุคคลควรพูดให้ไพเราะ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ บุคคลควรพูดให้ไพเราะ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ บุคคลควรพูดให้ไพเราะ




อ่านแนวนำมาเขียนอธิบาย


วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ
บุคคลควรพูดให้ไพเราะ

“การพูดไพเราะ” หมายถึง วาจางามมีคุณลักษณะ ๕ อย่าง ดังนี้

๑. กล่าวถูกกาลเทศะ คือพูดถูกที่ถูกเวลา
๒. เป็นคำจริง ไม่โกหกหลอกลวง
๓. เป็นคำพูดที่อ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
๔. เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ ไม่เหลวไหลไร้สาระ
๕. กล่าวด้วยจิตเมตตา คือเป็นคำที่พูดด้วยความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง

ถ้อยคำที่ประกอบด้วยลักษณะ 5 อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกว่า วาจางาม

คำพูดที่ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ ถือว่าเป็นคำพูดที่ไพเราะ ควรกล่าวให้ติดเป็นนิสัย เพราะว่าผู้ที่พูดไพเราะหรือเปล่งวาจางาม ย่อมเป็นที่รักและเคารพของคนอื่น ไปที่ไหนก็มีแต่คนรักนิยมชมชอบ และสามารถอำนวยประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนและผู้อื่นด้วย


สุภาษิตมาใน:
สังยุตตนิกาย สคถวรรค
ตัวย่อสุภาษิต:
สํ.ส. ๑๕/๖๐