เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖

เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖



ปัญหาข้อสอบวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖
เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖

ปัญหาเฉลยข้อสอบวิชาวินัย นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ.๒๕๖๖

  1. อภิสมาจารคืออะไร ? ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อในอภิสมาจารมีโทษอย่างไรบ้าง ?
    ตอบ อภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมอันดีงามของภิกษุ ฯ
    มีโทษปรับอาบัติถุลลัจจัยเป็นอย่างสูง แต่มีน้อย ส่วนมากปรับอาบัติทุกกฏเป็นพื้น ฯ
  2. ในกายบริหาร มีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับหนวดและคิ้วไว้อย่างไร ?
    ตอบ เรื่องหนวด มีข้อปฏิบัติไว้ว่า อย่าพึงไว้หนวดไว้เครา คือต้องโกนเสมอ ห้ามไม่ให้แต่งหนวด และห้ามไม่ให้ตัดหนวดด้วยกรรไกร ส่วนเรื่องคิ้ว ไม่ได้วางหลักปฏิบัติไว้ แต่พระสงฆ์ไทยนิยมโกนพร้อมกับผม ฯ
  3. วัตถุอนามาส คืออะไร ? ภิกษุจับต้องวัตถุอนามาสนั้น ต้องอาบัติอะไรบ้าง ?
    ตอบ วัตถุอนามาส คือ สิ่งที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง ฯ
    ภิกษุจับต้องมาตุคาม เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย และทุกกฏ ตามประโยค
    จับต้องบัณเฑาะก์ ด้วยความกําหนัด เป็นอาบัติถุลลัจจัย
    นอกนั้นเป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏทั้งหมด ฯ
  4. ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ไปสู่อาวาสอื่น พึงประพฤติอย่างไรจึงจะถูกธรรมเนียมตามพระวินัย ?
    ตอบ พึงประพฤติดังนี้
    ๑. ทำความเคารพในท่าน
    ๒. แสดงความเกรงใจเจ้าของถิ่น
    ๓. แสดงอาการสุภาพ
    ๔. แสดงอาการสนิทสนมกับเจ้าของถิ่น
    ๕. ถ้าจะอยู่ที่นั่น ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมของเจ้าของถิ่น
    ๖. ถือเสนาสนะแล้วอย่าดูดาย เอาใจใส่ชำระปัดกวาดให้หมดจดจัดตั้งเครื่องเสนาสนะให้เป็นระเบียบ ฯ
  5. ภิกษุอธิษฐานจำพรรษาแล้ว มีเหตุไปที่อื่น ผูกใจจะกลับมาให้ทันในวันนั้น แต่กลับมาไม่ทันเช่นนี้พรรษาขาดหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
    ตอบ ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ พรรษาไม่ขาด ฯ
    เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่ ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะพรรษาขาด ฯ
  6. กำลังสวดพระปาฏิโมกข์อยู่ หากมีภิกษุอื่นเข้ามาจะปฏิบัติอย่างไร ?
    ตอบ ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุผู้เข้ามาใหม่มากกว่าภิกษุผู้ชุมนุมต้องสวดตั้งต้นใหม่ ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า ส่วนที่สวดไปแล้วก็ให้เป็นอันสวดแล้ว ให้เธอผู้มาใหม่ฟังส่วนที่ยังเหลือต่อไป ฯ
  7. ปวารณา คืออะไร ? มีพระพุทธานุญาตให้ทำในวันไหน ?
    ตอบ ปวารณา คือ การบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ปรารถนาจะตักเตือนว่ากล่าวตนได้ ฯ
    มีพระพุทธานุญาตให้ทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันเต็ม ๓ เดือนแต่วันจำพรรษา ฯ
  8. อเนสนาได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
    ตอบ อเนสนา ได้แก่ กิริยาแสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร ฯ
    มี ๒ อย่าง คือ
    ๑. การแสวงหาเป็นโลกวัชชะ มีโทษทางโลก
    ๒. การแสวงหาเป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ ฯ
  9. ลักษณะถือวิสาสะที่มาในพระบาลีมีอะไรบ้าง ?
    ตอบ มีองค์ ๕ คือ
    ๑. เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา
    ๒. เป็นผู้เคยคบกันมา
    ๓. ได้พูดกันไว้
    ๔. ยังมีชีวิตอยู่
    ๕. รู้ว่าของของผู้นั้น เราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ ฯ
  10. ภิกษุจะเปลี่ยนไตรครอง พึงปฏิบัติอย่างไรบ้าง ?
    ตอบ ให้ทำการถอนอธิษฐานของเดิมเสียก่อน แล้วจึงอธิษฐานใช้ของใหม่ ฯ
    คือ ต้องปัจจุธรณ์คือถอนอธิษฐานผืนเก่าก่อน แล้วทำพินทุและอธิษฐานผืนใหม่

    (หากจะเขียนตอบแบบละเอียดดังนี้)
    ภิกษุจะเปลี่ยนไตรครอง พึงปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้
    ๑. กรณีปกติเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจีวรเก่า จีวรกฐิน ต้องกล่าวคำ สละผ้าเสียก่อนแล้วทำพินทุ แล้วก็อธิษฐานผ้าตามชื่อ จีวร สังฆาฏิ สบง ตามภาษาบาลี
    ๒. กรณีจีวรถูกขโมยไปหรือสูญหายต้องกล่าวคำถอนเสียก่อน ทำความอาลัย แล้วนำผ้าผืนใหม่มาทำพินทุ อธิษฐานตามลำดับ

ดาวน์โหลดเฉลยข้อสอบวิชาวินัย/PDF