เก็งข้อสอบนักธรรมชั้นตรี วิชาธรรมวิภาค ปี 2567
ติวเข้มเตรียมสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้นตรี วิชาธรรมวิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ มีทั้งหมด ๔๐ ข้อดังนี้ครับ |
---|
๑. | สติ แปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ? |
---|---|
ต/ |
สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ เพราะป้องกันความเสียหาย และอุดหนุนให้สําเร็จกิจในทางที่ดี ฯ |
๒. | คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไ ? |
ต/ |
เพราะขาดธรรมมีอุปการะมาก มี ๒ อย่าง ได้แก่ ๑) สติ คือ ความระลึกได้ ๒) สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว ฯ |
๓. | สติสัมและสัมปชัญญะ ที่ว่ามีอุปการะมากนั้น เพราะเหตุไร ? |
ต/ | เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ |
๔. | โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ? |
ต/ |
เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ ๑) หิริ ความละอายบาป ๒) โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ |
๕. | พบงูพิษแล้วสดุ้งกลัวว่าจะถูกกัด จัดเป็นโอตตัปปะได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? |
ต/ |
จัดเป็นโอตตัปปะไม่ได้ ฯ เพราะโอตตัปปะ หมายความว่าความเกรงกลัวต่อบาป ฯ |
๖. | หิริและโอตตัปปะได้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกบาล เพราะเหตุไร ? |
ต/ | เพราะเป็นคุณธรรมที่ทำให้บุคคลรังเกียจและเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ฯ |
๗. | ธรรมที่ทำให้บุคคลงาม คืออะไร ? |
ต/ | ธรรมที่ทำให้บุคคลงาม คือ ขันติ ความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ |
๘. | ในทางโลกดูคนงามกันที่หน้าตา ในทางพระพุทธศาสนา ท่านให้ดูคนงามที่ไหน ? |
ต/ |
ในทางพระพุทธศาสนา ให้ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ ๑) ขันติ คือ ความอดทน ๒) โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยม ฯ |
๙. | พระพุทธเจ้าคือใคร ? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ? |
ต/ |
คือ ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจตามพระธรรมวินัย ฯ ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ |
๑๐. | พระธรรม คืออะไร ? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร ? |
ต/ |
พระธรรม คือคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ มีคุณต่อผู้ปฏิบัติ คือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ |
๑๑. | โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่างมีอะไรบ้าง ? |
---|---|
ต/ |
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง มี ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ |
๑๒. | ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่นจัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? |
ต/ |
ทุจริต คือ ประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย ฯ จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ |
๑๓. | เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไร ? จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? |
ต/ |
คือเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี
บิดามารดาไม่มีพระคุณ เป็นต้น ฯ จัดเข้าในมโนทุจริต ฯ |
๑๔. | ที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีอะไรบ้าง ฯ |
ต/ |
เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ฯ โดยย่อมี ๓ คือ ๑. ทานมัย บุญสําเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒. สีลมัย บุญสําเร็จด้วยการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญสําเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ |
๑๕. | ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ควรเว้นอันตราย ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง ? |
ต/ |
เว้นอันตราย ๔ อย่างได้แก่ ๑. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อหน่ายต่อคำสั่งสอนขี้เกียจทำตาม ๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ๓. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๔. รักผู้หญิง ฯ |
๑๖. | ธรรมเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
คือ อิทธิบาท ๔ ฯ มี ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ |
๑๗. | คุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
เรียกว่า พรหมวิหาร ฯ มี ๑. เมตตา ความรักปรารถนาจะให้อยู่เป็นสุข ๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ๓. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี ๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ ฯ |
๑๘. | เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตำแหน่ง ไม่คิดริษยา พลอยยินดีกับเขาด้วย ชื่อว่าปฏิบัติ ตามพรหม วิหารธรรมข้อใด ? |
ต/ | ข้อ ๓ มุทิตา คือ ความพลอยยินดี ฯ |
๑๙. | บุคคลผู้รักษาความยุติธรรมไว้ได้ ควรเว้น จากธรรมอะไร ? ธรรมนั้นมีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
ควรเว้นจากอคติ ๔ ฯ มี ๑. ความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ ๒. ความลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกว่า โทสาคติ ๓. ความลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ ๔. ความลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ ฯ |
๒๐. | ธรรมดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
เรียกว่า จักร ๔ ฯ ได้แก่ ๑) ปฏิรูปเทสวาสะ คือ อยู่ในประเทศอันสมควร ๒) สัปปุริสูปัสสยะ คือ คบสัตบุรุษ ๓) อัตตสัมมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบ ๔) ปุพเพกตปุญญตา คือ ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ |
๒๑. | กรรมอันเป็นบาปหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน คือกรรมอะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
คือ อนันตริยกรรม ฯ มี ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ |
๒๒. | ธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
คือ นิวรณ์ ๕ ฯ มี ๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป เป็นต้น ๒. พยาบาท คิดปองร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจ ฯ |
๒๓. | ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? สังขารขันธ์จัดเป็นรูปหรือนาม ? |
ต/ | ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ สังขารขันธ์จัดเป็นนาม ฯ |
๒๔. | ขันธ์ ๕ สามารถย่อเป็น ๒ ได้อย่างไร ? |
ต/ |
ขันธ์ ๕ ย่อเป็น ๒ อย่างนี้ คือ ๑) รูปขันธ์ คงเป็นรูป ๒) เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ ๔ ขันธ์นี้ เป็นนาม ฯ |
๒๕. | ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง คืออะไรบ้าง ? |
ต/ |
ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง คือ ๑. สัทธา ความเชื่อ ๒. วิริยะ ความเพียร ๓. สติ ความระลึกได้ ๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๕. ปัญญา ความรอบรู้ ฯ |
๒๖. | อานิสงส์การฟังธรรม มีอะไรบ้าง ? |
ต/ |
อานิสงส์การฟังธรรมมี ๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้ ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ฯ |
๒๗. | สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาเนือง ๆ มีอะไรบ้าง ? ทรงให้พิจารณาอย่างไร ? |
ต/ |
มี ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความพลัดพราก และกรรม ฯ ทรงสอนให้พิจารณาว่า ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕. เรามีกรรมเป็นของตัวเรา ทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ |
๒๘. | คารวะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? ข้อว่า คารวะในการศึกษา หมายถึงอะไร ? |
ต/ |
คารวะ คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ มี ๖ อย่าง ฯ คารวะในการศึกษา หมายถึง ความเคารพเอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ |
๒๙. | อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? |
ต/ | อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย, ธรรม คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ ฯ |
๓๐. | อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? |
ต/ |
มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้ ตา เป็นใหญ่ในการเห็น อารมณ์คือรูป หู เป็นใหญ่ในการฟัง อารมณ์คือเสียง จมูก เป็นใหญ่ในการสูดดม อารมณ์คือกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้ม อารมณ์คือรส กาย เป็นใหญ่ในการถูกต้อง อารมณ์คือโผฏฐัพพะ ใจ เป็นใหญ่ในการรู้ อารมณ์คือธรรม |
๓๑. | สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเจรจาอย่างไร ? |
ต/ | เจรจาชอบ คือ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ และเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ฯ |
๓๒. | สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือทำอย่างไร ? |
ต/ |
การงานชอบ คือ ทำโดยเว้นจากกายทุจริต ๓ ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ฯ |
๓๓. | ในมละ ๙ ศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์จัดเข้าในมละอย่างไหน ? และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ? |
ต/ |
จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ฯ ควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ |
๓๔. | ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คือศีลอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? |
ต/ |
คือ ศีล ๕ ฯ ได้แก่ ๑. เว้นจากทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ๒. เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจากพูดเท็จ ๕. เว้นจากดื่มน้ําเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯ |
๓๕. | การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างไร ? |
ต/ | เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างนี้ คือ มักจะถูกคนชั่วชักจูงไปในทางที่ชั่ว เช่น คนไม่เคยเป็นนักเลงหญิง ไม่ติดสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่เป็นอันธพาล ก็ย่อมถูกชักจูงไปจนกลายเป็นนักเลงหญิงได้ เป็นต้น ฯ |
๓๖. | ความสุขของผู้ครองเรือนตามหลักพระพุทธศาสนาเกิดมาจากเหตุอะไรบ้าง ? |
ต/ |
เกิดจากเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค ๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้ ๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ฯ |
๓๗. | ฆราวาสผู้ครองเรือน ควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ? |
ต/ |
ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ ๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน ๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน ๓. ขันติ อดทน ๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ |
๓๘. | ศิษย์ที่ดีพึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์อย่างไร ? |
ต/ |
พึงปฏิบัติต่อท่านอย่างนี้ คือ ๑. ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๒. ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๓. ด้วยเชื่อฟัง ๔. ด้วยอุปัฏฐาก ๕. ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ฯ |
๓๙. | บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอย่างไร ? |
ต/ |
พึงปฏิบัติต่อท่านอย่างนี้ คือ ๑. ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบแทน ๒. ทํากิจของท่าน ๓. ดํารงวงศ์สกุล ๔. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทําบุญอุทิศให้ท่าน ฯ |
๔๐. | ผู้หวังประโยชน์ปัจจุบันจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้สมหวัง ? |
ต/ |
ต้องปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจการงานในการศึกษาเล่าเรียนในการทําธุระหน้าที่ของตน ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาทั้งทรัพย์และการงานไม่ให้เสื่อมไป ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว ๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กําลังทรัพย์ที่หาได้ ฯ |